0
กบฏชาวนา : มูลฐานจิตสำนึกในอินเดียยุคอาณานิคม
หนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างของประวัติศาสาตร์ฉบับประชาชน ที่สะท้อนว่า ประชาชนกระทำอะไร ประชาชนถูกกระทบโดยอำนาจโหดร้ายป่าเถื่อนอย่างไร และประชาชนต่อาต้นความโหดร้ายป่าเถื่อนของผู้มีอำนาจอย่างไร...
หนังสือ570.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    "กบฏชาวนา : มูลฐานจิตสำนึกในอินเดียยุคอาณานิคม" เล่มนี้ เขียนโดย "รณชิต คูหา" และแปลเป็นภาษาไทยอย่างทั้งราบรื่นและแหลบคม โดย "ปรีดี หงษ์สต้น" เป็นตัวอย่างของประวัติศาสาตร์ฉบับประชาชน ที่สะท้อนว่า ประชาชนกระทำอะไร ประชาชนถูกกระทบโดยอำนาจโหดร้ายป่าเถื่อนอย่างไร และประชาชนต่อาต้นความโหดร้ายป่าเถื่อนของผู้มีอำนาจอย่างไร แทนที่จะเล่าเขียนว่า ยุคอาณานิคม อังกฤษในอินเดียเป็นช่วงที่อังกฤษได้ครอบงำควบคุมคนอินเดียอย่างมิดชิด

    "คูหา" กลับเขียนประวัติศาสตร์อินเดียยุคอาณานิคมอังกฤษฉบับใหม่ เป็นฉบับประชาชน โดยการเขียนประวัติศาสตร์ของกบฏชาวนาจากมุมมองชาวนา และโดยการวางเอาชาวนาเป็นผู้กระทำหลักของเรื่อง ความคิดและจิตสำนึกของชาวนาเองเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดมีกบฏ และการเปลี่ยนแปลงในสังคมการเมือง ทั้งยังทำให้ประวัติศาสตร์เดินหน้าต่อไป ประวัติศาสตร์ที่ผู้อ่านจะได้พบในเล่มนี้ไม่ใช่ของผู้มีอำนาจ แต่เป็นของผู้ที่กำลังจะไปคว้าเอาอำนาจนั้นมา!

สารบัญ

1. บทนำ
2. การกลับด้าน
3. ความคลุมเครือ
4. ลักษณะร่วม
5. ความเป็นปึกแผ่น
6. การแพร่กระจาย
7. อาณาเขต
8. บทส่งท้าย

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786168215272 (ปกอ่อน) 616 หน้า
ขนาด: 143 x 211 x 30 มม.
น้ำหนัก: 635 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ILLUMINATIONS
เดือนปีที่พิมพ์: 11/2020
ชื่อเรื่องต้นฉบับElementary Aspects of Peasant Insurgency in Colonal India
สำนักพิมพ์ต้นฉบับ : Oxford University Press
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน