0
กบฏไพร่ หรือผีบุญ ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของราษฎร กับอำนาจรัฐเหนือแผ่นดินสยาม
สิบห้ากบฏไพร่ ทั้งผีบุญผู้วิเศษ และกบฏชาวนา ปฐมบทการลุกขึ้นมาต่อสู้ของชนชาวบ้านผู้ถูกกำหนดชั้นให้เป็น "ไพร่" บทเรียนที่เจือด้วยหยดเลือดและน้ำตา
หนังสือ304.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    กบฏชาวบ้าน คือ กบฏที่เกิดขึ้นโดยมีชาวบ้านธรรมดาเป็นกำลังหลัก หรือเป็นผู้นำในการก่อการกบฏ มักถูกเรียกชื่อเฉพาะแยกอาไว้ 2 ประเภทหลัก 1 คือ กบฏไพร่ และอีก 1 คือ กบฏผีบุญ หรือกบฏผู้มีบุญ แม้ในรายละเอียดแท้จริง จะปรากฎว่า ผู้นำในการก่อกบฏเหล่านั้น บางกรณีไม่ได้เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา กล่าวคือ เป็นขุนนาง หรืออดีตขุนนาง หรือขุนนางนอกราชการ แต่ส่วนใหญ่ ผู้นำเหล่านั้นในยามที่ก่อการกบฏก็มักจะสิ้นสภาพของการทำงานรับใช้ราชการไปแล้ว เมื่อทำการก่อกบฏขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อล้มล้างอำนาจรัฐ หรือยึดอำนาจรัฐในบางส่วน (แล้วแต่กรณี) เขาผู้นั้นและกลุ่มของเขาก็จะถูกเรียกขานว่าเป็น "กบฏไพร่" หรือแม้แต่กบฏผีบุญ ตามแต่รายละเอียดของเหตุการณ์ในแต่ละเรื่องไป

    ในจำนวนกบฏไพร่ที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา 3 ครั้ง อันประกอบด้วย กบฏญาณพิเชียร (พ.ศ. 2124 ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชา) กบฏธรรมเถียร (พ.ศ. 2237 เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเพทราชา) และ กบฏบุญกว้าง (พ.ศ. 2241 ในสมัย พระเพทราชา เช่นกัน) มีเพียงกบฏบุญกว้าง ซึ่งเหตุเกิดขึ้นที่หัวเมืองนครราชสีมา เท่านั้นที่ถูกนับเป็น "กบฏผีบุญ" เพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์อยุธยา ขณะที่กบฏซึ่งเกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หรือในสมัยปัจจุบัน ซึ่งรับกันว่ามีอยู่ 12 ครั้ง นับแต่รัชกาลที่ 1 กระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ล้วนถูกมองว่าเป็นกบฏผีบุญแทบทั้งหมด ขณะเดียวกันทั้ง 12 ครั้งของ กบฏผีบุญ ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้ ก็ได้รับการยอมรับและเรียกขานในภาพรวมว่าเป็น "กบฏไพร่" ไม่ต่างจากสมัยอยุธยาด้วยเช่นกัน

สารบัญ

- บทนำ กบฏไพร่ และผีบุญเมื่อ "ไพร่" หาญกล้าท้าอำนาจรัฐ
- พ.ศ. 2124 กบฏไพร่ญาณพิเชียร กบฏไพร่ครั้งแรกในสมัยอยุธยา
- พ.ศ. 2237 กบฏธรรมเถียร กบฏไพร่ สมัยพระเพทราชา
- พ.ศ. 2241 กบฏบุญกว้าง ผีบุญสมัยอยุธยา
- พ.ศ. 2334 กบฏอ้ายเชียงแก้ว ปัญหาของชนกลุ่มน้อย
- พ.ศ. 2363 กบฏสาเกียดโง้ง
- พ.ศ. 2432 กบฏพญาผาบเชียงใหม่
- พ.ศ. 2438 กบฏศึกสามโบก
- พ.ศ. 2444-2445 กบฏผู้มีบุญภาคอีสาน
- พ.ศ. 2445 กบฏเงี้ยงเมืองแพร่
ฯลฯ

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786169360612 (ปกอ่อน) 282 หน้า
ขนาด: 138 x 207 x 17 มม.
น้ำหนัก: 330 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์Din-Dan Book
เดือนปีที่พิมพ์: 2020
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน