กลายเป็น-มลายู : บทสำรวจอัตลักษณ์ในรัฐไทยและการค้นหาความหมายแห่งตัวตน
บทความทุกชิ้นมีจุดสำคัญร่วมกันคือ การพยายามเผยให้เห็นถึงโลกอันซับซ้อนของความจริงเชิงประจักษ์ ซึ่งถูกอำพรางด้วยมายาคติทางเชื้อชาติและศาสนา พร้อมกับนำมันออกมาพิจารณาใหม่
เนื้อหาโดยสังเขป
"กลายเป็น-มลายู : บทสำรวจอัตลักษณ์ในรัฐไทยและการค้นหาความหมายแห่งตัวตน" เล่มนี้ คือหนังสือรวมบทความซึ่งถูกเขียนขึ้นมาต่างวาระ และปะทะกับประเด็นปัญหาหรือมีคำถามแตกต่างกัน ทว่าบทความทุกชิ้นมีจุดสำคัญร่วมกันคือ การพยายามเผยให้เห็นถึงโลกอันซับซ้อนของความจริงเชิงประจักษ์ซึ่งถูกอำพรางด้วยมายาคติทางเชื้อชาติและศาสนา พร้อมกับนำมันออกมาพิจารณาใหม่ ด้วยวิธีการเช่นนี้ แม้มันจะมีความพร่าเลือนบ้างด้วยข้อจำกัดของแนวคิดที่นำมาใช้ แต่ภายในกรอบของแต่ละแนวคิดน่าจะมีแสงสว่างปรากฏให้เห็นสิ่งที่ถูกปิดบังอำพรางอย่างยาวนานได้บ้าง ไม่มากก็น้อย การฝึกฝนทางมานุษยวิทยาในหนังสือเล่มนี้ พุ่งความสนใจไปยังความเป็นมาของคนมลายูในลักษณะที่ข้ามผ่านรูปแบบอันหลากหลาย ขนาดของการขบคิด และมิติเวลา ตลอดจนให้ความสนใจกับสภาวะซึ่งสถานะของสังคม วัฒนธรรม และการเมืองที่เริ่มไม่สอดคล้องกับความจริง
สารบัญ
พรมแดนความรู้
- หนึ่งทศวรรษอันแตกกระจาย : บททบทวนภูมิทัศน์ การศึกษาทางชาติพันธุ์ และความหลากหลายในสามจังภาคใต้
อัตลักษณ์มลายู รัฐไทย และความรุนแรง
- การสร้างสรรค์และการปะทะในความเป็น ถิ่นฐานของ "มลายู" : ข้อสังเกตเบื้องต้นจากภาคสนาม
- สัญลักษณ์ ร่างกาย และพิธีกรรม : รัฐไทยในความเป็นมลายู
- อยู่กับความรุนแรง : ความรุนแรงในพื้นที่ทางโลกของมลายูมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้
ศาสนา ความรู้สึก และความหลากหลาย
- มานุษยวิทยาแนวอิสลาม
- ผ้าคลุม : ผัสสะ และจินตนาการในสังคมมลายู
- จากพหุนิยมอาณานิคมสู่พหุวัฒนธรรมนิยมหลังอาณานิคม : บทสำรวจเบื้องต้นว่าด้วยชาติพันธุ์และความเป็นพลเมืองในมาเลเซีย
คำนิยม
หนังสือเล่มนี้จึงต้องตั้งใจอ่านอย่างตั้งใจ มีภาคของข้อเสนอเชิงแนวคิด การทบทวนงานที่เกี่ยวข้องของนักวิชาการแขนงต่าง ๆ แต่ก็หาใช่หนังสือที่อ่านเข้าใจยากจนเกินไป ข้อมูลภาคสนามชวนติดตาม อ่านสนุก และรู้สึกตื่นเต้นไปกับผู้เขียนหลายช่วงตอน แม้ผู้ที่ไม่อยู่ในแวดวงวิชาการ หรือไม่ได้ติดตามการศึกษาว่าด้วยชนมลายู สามารถทำความเข้าใจและได้ประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ ที่สำคัญอาจารย์ศรยุทธเดินทางไปมาข้ามพรมแดนเชิงกายภาพ อัตลักษณ์ ความรู้สึก และความรู้ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สายตาที่ได้อ่าน สามารถถอดชุดประสบการณ์และความเข้าใจ ช่วยให้ข้อเสนอจากมุมของคนที่ไม่ถูกกำหนดว่าเป็นคนในและมลายูได้นำเสนอต่อสังคม โดยเฉพาะภาคส่วนที่กำกับควบคุมนโยบายได้รับแง่มุมที่จะช่วยจุดประกายแห่งการเรียนรู้สังคม ท่ามกลางการกลายสภาพของความรุนแรงที่ซับซ้อนแยบยลเข้าทุกขณะ อันจะช่วยให้พื้นที่ของการสนทนาเปิดกว้างต่อการถกเถียงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้นอัมพร หมาดเด็น- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การสร้างคำอธิบายแบบเหมารวมครอบลงไป มิว่าจะโดนฝ่ายอำนาจรัฐ หรือฝ่ายนักวิชาการผู้ใฝ่ฝันถึงชุมชนในอุดมคติ จึงล้วนอาจสร้างความรุนแรงต่อชีวิตผู้คนที่อยู่ภายใต้เครื่องห่อหุ้ม ของความเป็นมลายูที่ตัวเองปรารถนา การบีฑาต่อผู้เห็นต่าง ไม่ว่าจะในทางเทววิทยาหรือในทางการเมือง จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ด้วยกันพึงสงัวรให้มากทวีศักดิ์ เผือกสม- มหาวิทยาลัยนเรศวร
รายละเอียดหนังสือ
ISBN | : 9786163017567
(ปกอ่อน)
364 หน้า |
ขนาด | : 143 x 209 x 22 มม. |
น้ำหนัก | : 435 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : ยิปซี, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 2022 |
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน
สินค้าน่าสนใจในกลุ่มเดียวกัน
สินค้าคอลเล็คชั่น
อุปกรณ์เสริม
บทวิจารณ์จากลูกค้า