0
การกอบกู้วิกฤตการเงินเอเชีย พ.ศ. 2540-2541
รวมแนวทางการแก้ไขวิกฤตของบางประเทศเพื่อเป็นกรณีศึกษา และนำเสนอบทเรียนของการทำงานภาครัฐ การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินและการฟื้นของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะบทบาทของ IMF
หนังสือ142.50 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินปี 2540 เป็นวิกฤตที่ร้ายแรงที่สุดที่ไทยและประเทศต่าง ๆ ในเอเชียต้องประสบ ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งโครงสร้างสถาบันการเงินที่อ่อนแอ การตัดสินใจต่อสู้ค่าเงินบาทกับนักลงทุน Hedge Funds การขาดความระมัดระวังในการบริหารความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน และการขาดความน่าเชื่อถือของทางการในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน ที่นำไปสู่การถอนเงินของประชาชนจนทำให้ระบบล่มสลาย

    ประเทศไทยจึงต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF แต่ความเชื่อมั่นต่อการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลก็ไม่ได้กลับมา พลเอกชวลิตในฐานะนายกรัฐมนตรีจึงประกาศลาออกและเกิดการเปลี่ยนขั้วการเมือง เป็นผลให้นายชวน เข้ามาเป็นหัวหน้ารัฐบาลเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ โดยได้ขอเจรจาปรับปรุงเงื่อนไขของ IMF และเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อยกเลิกการซื้อเครื่องบินรบ มีการปฏิรูประบบสถาบันการเงินอย่างจริงจัง มีการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อเปิดทางให้ระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ เช่น ปตท. ทอท. และ อสมท. เป็นต้น มีการปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้ธุรกิจที่ประสบปัญหาสามารถยื่นขอความคุ้มครองต่อศาลเพื่อฟื้นฟูกิจการได้ มีการปฏิรูประบบการออมเพื่อใช้ยามชรา โดยให้ ก.ล.ต. เป็นผู้กำกับดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่าง ๆ มีมติ ครม. ให้จัดตั้ง สสส. แม้ว่าฐานะการคลังรัฐบาลจะถูกกระทบอย่างรุนแรง ทำให้ต้องมีการตัดรายจ่าย ลดเงินเดือน แต่ก็ยังมีการอนุมัติให้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ การก่อสร้างทางหลวงสี่เลนทั่วประเทศและทางรถไฟรางคู่เป็นต้น

    วิกฤตครั้งนั้นมีผลกระทบในวงกว้างทำให้เกิดความเดือดร้อน ทั้งผู้ประกอบอาชีพในภาคการเงินและภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่ต้องตกงานหรือธุรกิจเสียหาย ทำให้เศรษฐกิจหดตัวและค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างมาก แต่ด้วยความแน่วแน่ในการแก้ไขวิกฤต ทำให้เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น และก่อนที่รัฐบาลนายชวนจะพ้นตำแหน่งเมื่อต้นปี 2544 อัตราการขยายตัวของ GDP ก็ได้ฟื้นตัวเป็นบวก ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเป็นเกินดุล ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น และเงินสำรองระหว่างประเทศก็ได้เพิ่มมาอยู่ในระดับปกติ จนพร้อมที่จะชำระคืนหนี้ IMF

    วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 แม้จะมีความร้ายแรง แต่สำหรับคนอายุต่ำกว่า 40 ปีอาจจะไม่ได้เข้าใจถ่องแท้ เพราะยามที่วิกฤตปะทุยังอยู่ในวัยการศึกษา ทำให้มีการกล่าวอ้างอย่างไม่ถูกต้อง จึงเป็นที่มาของการผลิตหนังสือเล่มนี้ เพื่อบันทึกให้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญนี้ไว้ได้ศึกษาเรียนรู้

สารบัญ

บทนำ ลำดับเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยปี 2540
บทที่ 1 Thailand Letter of Intent, August 14, 1997
บทที่ 2 วิกฤตเศรษฐกิจของไทย ปี 2540
บทที่ 3 บทเรียนจากประสบการณ์จริงในการกู้วิกฤตหนี้ NPLa
บทที่ 4 วิกฤตเศรษฐกิจของไทยปี 2540
บทที่ 5 อินโดนีเซียท่ามกลางมหาวิกฤตปี 2540 ก่อนและหลังยุคฟื้นฟูเศรษฐกิจ
บทที่ 6 เกาหลีใต้ 2540 วิกฤตสู่การซ่อม สร้าง และวางรากฐานประเทศ
บทที่ 7 มาเลเซียในวิกฤตที่แตกต่าง นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจเพื่อสกัดกั้นวิกฤต
บทที่ 8 ทิศทางการฟื้นตัวระบบเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังมหาวิกฤต 2540

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786169376903 (ปกอ่อน) 202 หน้า
ขนาด: 176 x 249 x 12 มม.
น้ำหนัก: 440 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์ออกแบบอนาคตประเทศไทย, สถาบัน
เดือนปีที่พิมพ์: 7/2021
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน