0
การพัฒนาระบบทวิภาคีของการอาชีวศึกษา
บทเรียนแห่งความสำเร็จจากต่างประเทศ และสถานการณ์ของประเทศไทย
หนังสือ218.50 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    การจัดการศึกษาในระบบวิภาคี ถือเป็นทางออกหนึ่งในการพัฒนากำลังคนของประเทศ หนังสือเล่มนี้นำเสนอความรู้สำคัญเกี่ยวกับกรณีศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ นอร์เวย์ เดนมาร์ก สวีเดน สวิตเซอร์แลยด์ ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ที่สะท้อนวิธีปฏิบัติที่ดี จนนำพาอาชีวศึกษาไปสู่คำตอบของการพัฒนาประเทศ ความสำเร็จเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้เป็นบทเรียนและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง เพื่อให้การจัดทวิภาคีในประเทศไทยเดินทางไปสู่ความสำเร็จ

สารบัญ

1. USA : ทวิภาคีในประเทศสหรัฐอเมริกา
2. GERMANY : ทวิภาคีในประเทศเยอรมนี
3. ENGLAND : ทวิภาคีในประเทศอังกฤษ
4. NORWAY : ทวิภาคีในประเทศนอร์เวย์
5. DENMARK : ทวิภาคีในประเทศเดนมาร์ก
6. SWEDEN : ทวิภาคีในประเทศสวีเดน
7. SWIZERLAND : ทวิภาคีในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
8. AUSTRALIA : ทวิภาคีในประเทศออสเตรเลีย
9. AUSTRIA : ทวิภาคีในประเทศออสเตรีย
10. SOUTH KOREA : ทวิภาคีในประเทศเกาหลีใต้
ฯลฯ

คำนิยม
"ความสำเร็จของการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในต่างประเทศ" เห็นภาพของความสำเร็จในมิติต่างๆ ได้ชัดเจนและน่าสนใจมาก ต้องยอมรับว่าตำรับตำรา ด้านการอาชีวศึกษาของประเทศไทยยังมีน้อย องค์ความรู้เรื่องระบบทวิภาคีของการอาชีวศึกษา นั้นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ เริ่มแรกจากความร่วมือ และการสนับสนุนของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หลังจากนั้นก็มีระบบของประเทศสหราชอาณาจักร ระบบของประเทศฝรั่งเศส ระบบของประเทศออสเตรีย และประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นการบูรณาการจุดเด่นของประเทศต่าง ๆ และเชื่อมโยงกับบริบทของประเทศไทย ที่สอดรับกับลักษณะและความพร้อมของสถานประกอบการในประเทศ เอกสารฉบับนี้ได้สะท้อนภาพของการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่กว้างขวางขึ้น สามารถเป็นทางเลือก ในการนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ หวังว่าการผลิตเอกสารทางวิชาการด้านการอาชีวศึกษาที่สอดรับกับสถานการณ์และความต้องกาารในลักษณะนี้ ของท่านอาจารย์ทั้งสองและของมหาวิทยาลัยจะมีอย่างต่อเนื่อง อันจะยังประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างมากดร.ศิริพรรณ ชุมนุม- อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา
รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9789743159671 (ปกอ่อน) 312 หน้า
ขนาด: 144 x 210 x 17 มม.
น้ำหนัก: 370 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ศยาม, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 4/2018
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน