หนังสือเล่มนี้เป็นการศึกษาเศรษฐกิจไทยในบริบทของเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและเศรษฐกิจโลก จึงสามารถเผยให้ผู้อ่านได้เห็นว่า ความสำเร็จ (และความล้มเหลว) ของเศรษฐกิจไทยไม่ใช่เรื่องของตำนานเสื่อผืนหมอนใบของบรรดาเจ้าสัว ความสามารถของเทคโนแครตที่มักประกาศว่า ปราศจากผลประโยชน์ส่วนตน หรือความมีเสถียรภาพของรัฐบาลเผด็จการแบบสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประชาธิปไตยครึ่งใบในยุคเปรม ติณสูลา-นนท์ อย่างที่เราคุ้นเคยเท่านั้น แต่มีปัจจัยภายนอกมากำหนดอีกไม่น้อย...
หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบไล่กวดอยู่ที่อุตสาหกรรมการผลิต และกุญแจแห่งความสำเร็จก็คือความสามารถทางสังคมของแต่ละประเทศ ในการนำเข้าเทคโนโลยี ปรับใช้ และพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร!
ภาค 1 มุมมอง และแนวทางการศึกษา
- บทที่ 1 มุมมอง : รัฐบาล ตลาด ระบบและสถาบัน
- บทที่ 2 ประเทศพัฒนาทีหลัง ทฤษฎีฝูงห่านป่าบินและความได้เปรียบในการแข่งขัน
- บทที่ 3 ความสามารถทางสังคมในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการผสมผสานทางนวัตกรรม
- บทที่ 4 เศรษฐกิจเอเชีย จาก "มหัศจรรย์" สู่ "วิกฤต"
ภาค 2 อุดมการณ์ นโขบาย ผู้รับผิดชอบ และสถาบัน
- บทที่ 5 ลัทธิการพัฒนากับเผด็จการการพัฒนา
- บทที่ 6 การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า การส่งเสริมการส่งออกนโยบายอุตสาหกรรม
- บทที่ 7 โครงสร้างสามขาของกลุ่มทุน รัฐวิสาหกิจและบริษัทของรัฐ
- บทที่ 8 บทบาทของบรรษัทข้ามชาติกับการครอบงำทางเศรษฐกิจ
- บทที่ 9 ธุรกิจครอบครัวและบรรษัทภิบาล
ฯลฯ
ISBN | : 9786169399414 (ปกอ่อน) 520 หน้า |
ขนาด | : 165 x 239 x 33 มม. |
น้ำหนัก | : 815 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : ฟ้าเดียวกัน, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : --/2022 |
สำนักพิมพ์ต้นฉบับ | : The Sakai Agency |