แนวคิดหลักในหนังสือเล่มนี้คือการที่ผู้แต่งทบทวน "วรรณกรรมทางด้านการละคร" ตั้งแต่ในอดีตจนถึงยุคร่วมสมัย เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของสุนทรียศาสตร์ของการละครในแต่ละยุคในแง่ของเครื่องมือทางวัฒนธรรม ซึ่งบางครั้งมีไว้เพื่อดำรงรักษาอำนาจของผู้อยู่ในอำนาจ เช่น ในกรณีของละครกรีกที่อริสโตเติลได้บันทึกเอาไว้ใน The Poetics หรือการละครในยุคกลางซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือของศาสนจักรในการควบคุมผู้คน ด้วยการสร้างให้เกิดความหวาดกลัวต่อบาป จนกระทั่งถึงยุคที่ชนชั้นพ่อค้ามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยท้าทายกับอำนาจเดิม ผู้เขียนอ้างอิงถึง Machiavelli กับสุนทรียศาสตร์ของเขา จนกระทั่งถึงสุนทรียศาสตร์ของนักการละครผู้ยิ่งใหญ่ อย่าง Brecht ผู้ให้กำเนิดการละครที่เรียกว่า Epic Theatre ซึ่งใช้สุนทรียศาสตร์แบบมาร์กซิสมาขับเคลื่อนสังคมในสมัยนั้น และสุดท้ายหนังสือเล่มนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของการสร้างสุนทรียศาสตร์ของผู้ถูกกดขี่ ซึ่งเป็นแบบของออกัสโต บูอาล โดยเล่าถึงงานการละครในบราซิลและเปรู ชี้ให้ผู้อ่านได้เห็นภาพงานของเขาผ่านประสบการณ์ตรง
กระบวนการเล่าเรื่องแนววิพากษ์ของผู้เขียน มีส่วนอย่างสำคัญในการกระตุ้นหนุนเสริมให้ผู้อ่านได้ฉุกคิด ตั้งคำถามเชิงวิพากษ์ และไตร่ตรองสถานการณ์ท่ามกลางสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันอย่างเท่าทัน และท้าทายให้เราได้พัฒนาเครื่องมือของการวิพากษ์ไตร่ตรองขึ้นมาใช้ เพื่อนำพาตนเองก้าวข้ามพรมแดนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง
1. ระบบคุมประพฤติในโศกนาฏกรรมของอริสโตเติล
- ความนำ
- ศิลปะเลียนแบบธรรมชาติ
- "การเลียนแบบ" หมายถึงอะไร
ฯลฯ
2. มาเคียเวลลีกับประพันธศิลป์เชิงคุณธรรม
- ชนชั้นศักดินากับการทำให้เลอค่า
- ความเป็นปึกแผ่นของชนชั้นกระฎุมพี
- มาเคียเวลลีกับแมนดรากอลา
ฯลฯ
3. เฮเกลกับเบรคชท์ : ตัวละครเป็นผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ
- แนวคิดเรื่อง "มหากาพย์"
- ประเภทของกวีนิพนธ์ในมุมมองเฮเกล
- กวีนิพนธ์บทละครในทัศนะของเฮเกล
ฯลฯ
ISBN | : 9786164810006 (ปกอ่อน) 304 หน้า |
ขนาด | : 143 x 210 x 17 มม. |
น้ำหนัก | : 350 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : สวนเงินมีมา, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 12/2018 |
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | : Theatre of The Oppressed |
สำนักพิมพ์ต้นฉบับ | : Literarische Agentur Mertin Inh. |