0
การศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 7 : ขยายโอกาส มุ่งคุณภาพ พร้อมคุณธรรม
อย่าเพลินมุ่งแต่จะสอนตำรากสิกรรมหรือตำราอาชีพ ใด ๆ ให้เกินไปความมุ่งหมายของการศึกษาอาชีพชนิดประถมนี้ก็คือ จะหัดให้เด็กคล่องแคล่วด้วยการรู้จักใช้มือให้ขยันและอดทน
หนังสือ190.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    การจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และการจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวคิดและนโยบายในการจัดการศึกษา นอกจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ก็คือเสนาบดีกระทรวงธรรมการทั้งสองท่าน ท่านแรกคือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) มีความเห็นว่าควรเร่งรัดจัดการศึกษาเพื่อให้โอกาสแก่คนส่วนใหญ่ได้ศึกษาโดยทั่วกัน และเร่งจัดการวิชาชีพเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน และเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ประเทศ อีกท่านคือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร ทรงเล็งเห็นว่าเมื่อการศึกษาแพร่หลายมากขึ้นในระดับหนึ่งแล้ว ก็ควรที่จะให้ความสนใจในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษามากขึ้น

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิดและนโยบายการจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทที่ 3 การจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทที่ 4 ผลการจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทที่ 5 บทสรุป

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786169261209 (ปกอ่อน) 312 หน้า
ขนาด: 145 x 210 x 15 มม.
น้ำหนัก: 360 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์ประชาธิปก-รำไพพรรณี, มูลนิธิ
เดือนปีที่พิมพ์: --/2016
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน