ศิลปะ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เป็นก้อนผลึกที่มีพลวัตและสายสัมพันธ์เกาะเกี่ยวกับชีวิตของคนทุกระดับชั้นอย่างไม่แยกจากกัน การกล่าวถึงรูปธรรม นามธรรมปฏิบัติการทางศิลปะใด ๆ ไม่ว่าจะจากผู้คนชนสามัญหรือผู้คนชนชั้นนำของสังคม ย่อมชี้ให้เห็นถึงเงาร่างตัวตน อำนาจบางประการแนบชิดอยู่กับชิ้นงานนั้น ๆ เสมอ นัยแห่งอารมณ์ความรู้สึก การรับรู้ที่ตกตะกอนอยู่ในผลของปฏิบัติการทางศิลปะ ย่อมเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงสิ่งแสดงที่นำเสนอออกมาสู่สัญลักษณ์ทางการเมืองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
"การเมืองทัศนา : ว่าด้วย การเมือง อำนาจ ศิลปะ และการมองเห็น สู่ความหมายทางวัฒนธรรม" เล่มนี้ เป็นหนังสือที่ว่าด้วยอำนาจ ศิลปะ และวัฒนธรรม นำไปสู่การสร้างบทสนทนากับแวดวงวิชาการที่ดึงเอาเรือนร่าง ความทรงจำ ประสบการณ์ก่อนหน้า และประสบการณ์เฉพาะหน้ามาพบกัน เพื่อให้เห็นลักษณะของเงื่อนไขทางอำนาจ ที่มีส่วน "กำกับ" "คัดสรร" สู่การจัดการ "ให้มอง" "ให้เห็น" และ "ให้รับรู้" นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้ต้องการปูพื้นฐานและวางแนวทางวิเคราะห์การเมืองของวัฒนธรรมทัศนาจากมุมมองทางทฤษฎีร่วมสมัย ตลอดจนนำเสนอการวิเคราะห์ตามแนวทางการเมืองทัศนา เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษาสำหรับนิสิต นักศึกษาในสาขารัฐศาสตร์ ทัศนศิลป์ สื่อศิลปะ วารสารศาสตร์และนิเทศศาสตร์ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป
บทที่ 1 วิธีการของวัฒนธรรมทัศนา
บทที่ 2 ระบบของภาพตัวแทน / และความหมาย
บทที่ 3 มองเวลาในการเมืองทัศนาผ่านศิลปะ
บทที่ 4 การเมืองทัศนากับศิลปะร่วมสมัย
บทที่ 5 คืนความเป็นการเมืองให้กับศิลปะ
บทที่ 6 ชะตากรรมของภาพเขียนและโปสเตอร์การเมือง : มองบทเรียนจากจีนสู่สังคมไทย
บทที่ 7 จริยธรรมของการพบพานกับศิลปะร่วมสมัย
บทที่ 8 สู่การเมืองทัศนา : ทัศนียภาพของการต่อต้าน
ISBN | : 9786165620383 (ปกอ่อน) 304 หน้า |
ขนาด | : 134 x 209 x 18 มม. |
น้ำหนัก | : 305 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : สมมติ, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 3/2022 |