0
การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม
ศิลปสถาปัตยกรรมสยามสมัยต้นกรุงเทพฯ ทั้งสยามเก่าและสยามใหม่ มีจารีตทางศาสนาการเมืองของราชาธิราช เมื่อล่วงเข้าสู่ Modernization เนื้อหาสถาปัตย์เปลี่ยนเป็นไทยประยุกต์ แล้วสืบเนื่องถึงปลุกยกชาตินิยม...
หนังสือ456.00 บาท
e-books(PDF) ?429.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    "การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม" ผลงานของ "ชาตรี ประกิตนนทการ" เล่มนี้ เล่าปรากฏการณ์ทางสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2394 - พ.ศ.2500 ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นนำ สมัยรัชกาลที่ 4 ความเชื่อแบบวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่โลกทัศน์แบบไตรภูมิ ความต้องการสร้างความศิวิไลซ์ให้ทัดเทียมตะวันตก การปฏิรูปการปกครองภายใต้แนวคิดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิกฤตอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โหยหาความเป็นไทย และสับสนในการปรับรับรสนิยมอย่างตะวันตกไปพร้อมกัน จนมาถึงความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตย และการหวนกลับมาของกระแสอนุรักษ์นิยมในรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยที่ 2

    ล้วนส่งผลกระทบต่อความคิดของผู้คน สะท้อนสภาพสังคม ความคิดในการออกแบบและสร้างสถาปัตยกรรมทั้งสิ้น เป็นที่น่าสังเกตว่าวัด วัง บ้าน เรือน อาคาร อนุสาวรีย์ และพื้นที่สาธารณะ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ อยู่ภายใต้ความหมายอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใด

สารบัญ

บทนำ การศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ผ่านมุมมองทางสังคมและการเมือง
1 จากจักรวาลทัศน์แบบไตรภูมิสู่จักรวาลทัศน์สมัยใหม่ แบบวิทยาศาสตร์ในสถาปัตยกรรม
2 ความหมายทางสังคมและการเมือง ในงานสถาปัตยกรรมยุคสยามใหม่
3 รูปแบบสถาปัตยกรรมเมื่อยามสนธยา ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (พ.ศ. 2453-2475)
4 ความหมายทางสังคมและการเมืองในงานสถาปัตยกรรม ภายใต้อุดมการณ์ประชาธิปไตยและชาตินิยมไทย (พ.ศ. 2475-2490)
5 ความหมายทางสังคมและการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กับการรื้อฟื้นรูปแบบจารีตและรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ (พ.ศ. 2490-2500)

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9789740218449 (ปกอ่อน) 544 หน้า
ขนาด: 143 x 210 x 23 มม.
น้ำหนัก: 600 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์มติชน, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 2023
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน