0
ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ
หนังสือเล่มนี้ช่วยให้การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะของล้านนาและสุโขทัยมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ด้วยความที่งานเขียนชิ้นนี้เกิดจากข้อคิดเห็นใหม่ จึงนับได้ว่าเป็นงานวิจัยที่เขียนขึ้นจากการตีความจารึกใหม่อีกครั้ง
หนังสือ209.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    ในด้านประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนาและสุโขทัย มีการศึกษาและเป็นที่ยอมรับกันมานานแล้วว่าต่างฝ่ายต่างก็รับอิทธิพลรูปแบบ ศิลปะซึ่งกันและกัน แต่การศึกษาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งอาจใช้เชื่อมโยงถึงเหตุ ปัจจัยในการนำพารูปแบบศิลปะนั้นยังไม่ได้รับการศึกษามากนัก หนังสือ "ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ" เล่มนี้ อาจช่วยให้การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะของล้านนาและสุโขทัยมีความชัดเจนยิ่งขึ้น อนึ่ง ด้วยความที่งานเขียนชิ้นนี้เกิดจากข้อคิดเห็นใหม่ จึงอาจนับได้ว่าเป็นงานวิจัยที่เขียนขึ้นจากการตีความจารึกใหม่อีกครั้ง และไม่ได้เขียนขึ้นจากประวัติศาสตร์สุโขทัยและล้านนาที่มีอยู่ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ยุคไกลของทั้งล้านนาและสุโขทัย

สารบัญ

ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองและล้านนนาของสุโขทัย
- เกริ่นนำ
- การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย
- ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของสุโขทัยและพะเยา
- ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของสุโขทัยและน่าน
- ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของสุโขทัยและเชียงใหม่

ความสัมพันธ์ระหว่างท้าวยี่กุมกาม พญาสามฝั่งแกน และพญาไสลือไท
- ท้าวยี่กุมกาม พญาสามฝั่งแกน และพญาไสลือไททรงเป็นพี่น้องร่วมบิดากัน/ทั้งสามพระองค์เป็นพระราชบุตรของพญาแสนเมืองมา
- ความพ่ายแพ้ของท้าวยี่กุมกาม
- พระราชมารดาของพญาไสลือไทและท้าวยี่กุมกามเป็นพระราชธิดาของพญาลือไท หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 แห่งสุโขทัย
- การอภิเษกสมรสระหว่างพระราชธิดาของพญาลือไท กับพญาแสนเมืองมา

ความสัมพันธ์ของชนชั้นปกครองระหว่างล้านนาและสุโขทัยในสมัยพระเจ้าติโลกราช
- พระราชมารดาของพระเจ้าติโลกราช เป็นพระราชนิกุล เชื้อสายสุโขทัย
- ความสัมพันธ์ระหว่างแม่พระพิลกกับบุคคลในชลชั้นปกครองสุโขทัยสายล้านนา
- พระนามพระเจ้าติโลกราชที่พ้องกับกับพระนามของพระบรมครูติโลกดิลกติรัตนศิลคันธวาสี เป็นผลสืบเนื่องจากธรรมเนียมการนำชื่อบรรพบุรุษตั้งเป็นชื่อหลาน แต่ทั้งสองพระองค์ไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็น หลาน-ปู่ กัน
- เชื้อสายของพระธรรมราชาที่ ๒ และเครือญาติฝ่าย พระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์
- พระยายุธิษฐิระ พระราชนิกุลเชื้อสายสุพรรณภูมิ แปรพักตร์

พระมหาเทวีจิรประภา กษัตริย์เชียงใหม่ผู้มีเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง
- สถานภาพของพระนางจิรประภามหาเทวีก่อนขึ้นครองราชย์
- ฐานอำนาจที่ผลักดันพระนางจิรประภาขึ้นสู่ราชบัลลังก์
- ที่มาของนางจิรประภามหาเทวี
- ความสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จพระไชยราชากับพระนางจิรประภา

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9789740334873 (ปกอ่อน) 210 หน้า
ขนาด: 146 x 210 x 10 มม.
น้ำหนัก: 245 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สนพ.แห่ง
เดือนปีที่พิมพ์: --/2016
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน