0
ความหลากหลายทางชีวภาพ ชาติพันธุ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น : จากล้านนาถึงอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ (PDF)
หนังสือรวบรวมบทความนี้เป็นงานเบิกโรงเพื่อขยายพรมแดนความรู้เปิดประเด็นและพื้นที่วิจัยใหม่ ๆ โดยการทำงานข้ามสาขาแบบสหวิทยาการระหว่างคณาจารย์ นักวิจัย จากหลากหลายคณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
e-books(PDF) ?243.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

      หนังสือรวบรวมบทความนี้เป็นงานเบิกโรงเพื่อขยายพรมแดนความรู้เปิดประเด็นและพื้นที่วิจัยใหม่ ๆ โดยการทำงานข้ามสาขาแบบสหวิทยาการระหว่างคณาจารย์ นักวิจัย จากหลากหลายคณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป้าหมายร่วมกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และสร้างเครือข่ายทางวิชาการเชื่อมโยงนักวิชาการไทยกับอินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งในปัจจุบันเรายังมีความรู้น้อยมาก แม้โครงการต่าง ๆ จะมีจุดเน้นและประเด็นวิจัยที่แตกต่างกันออกไป แต่ทั้งหมดวางอยู่บนสมมุติฐานร่วมกันว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศเกิดขึ้นจากวิธีคิดภูมิปัญญาและมุมมองที่หลากหลาย และแตกต่างกันออกไปตามกลุ่มชาติพันธ์ุและการปรับตัวของมนุษย์ในสภาพแวดล้อม และภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่แตกต่างกันการทำความเข้าใจกับชุดความรู้ และมุมมองที่หลากหลายเหล่านี้จะช่วยให้เรามองปัญหาที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบันได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโลกร้อน หมอกควัน มลภาวะ ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ การลดลงของความหลากทางชีวภาพ และปัญหาของการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนจากมุมมองและวิธีคิดที่ซับซ้อนกว้างขวาง และรอบด้านมากขึ้น

สารบัญ

- บทนำ ความหลากหลายทางชีวภาพ ชาติพันธุ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น : จากล้านนา ถึงอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ
- บทที่ 1 ภูมิทัศน์วัฒนธ รรมและนิเวศเกษตรผสมผสานของล้านนา และนากาทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
- บทที่ 2 ภูมิปัญญายืดหยุ่นและรูปแบบการจัดการป่าชุมชนในล้านนา และในเขตโคฮิมารัฐนา กาแลนด์ ประเทศอินเดีย
- บทที่ 3 พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ของชาติพันธุ์กลุ่มภาษาทิเบต-พ ในล้านนา และนา กาแลนด์
- บทที่ 4 เรื่องและการองเชิงนิเวศของ “ชาวนากา” และ “ชาวกะเหรี่ยง” ในฐานะการสร้างโลกและการวิพากษ์สภาวะอาณานิคม
- บทที่ 5 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้หญิงชาต ิพันธุ์ ในนา กาแลนด์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และภาคเหนือตอนบนของไทย
- บทที่ 6 กระบวนการผลิตชาขนาดใหญ่กับภาวะความทับซ้อน ของแรงงานหญิงชาติพันธุ์ในในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดียและจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
- บทที่ 7 บทบาทผู้หญิงในบริบทของอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรมณีปุระ
- บทที่ 8 ศิลปะไม้แกะสลัก : สังคมและสุขภาวะทางอารมณ์ของสล่าล้านนากับนากาแลนด์

ฯลฯ

รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786163989673 (PDF) 292 หน้า
ชนิดกระดาษ: PDF
สำนักพิมพ์เชียงใหม่, สนพ.ม.
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน