0
ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ฉบับสมบูรณ์
บทวิเคราะห์ทางนิรุกติศาสตร์และภาษาศาสตร์สังคม ว่าด้วยความเป็นมาของชื่อชนชาติและฐานะทางสังคม ผลงานค้นคว้าที่โดดเด่นเล่มหนึ่งของจิตร ภูมิศักดิ์
หนังสือ361.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    บทวิเคราะห์ทางนิรุกติศาสตร์และภาษาศาสตร์สังคม เกี่ยวกับความเป็นมาของชื่อชนชาติสยาม ไทย ลาว และขอม เสนอแนวคิดว่า ชนชาติที่มีอำนาจทางการเมืองมากกว่า มักจะเรียกชื่อชนชาติที่ด้อยอำนาจกว่าด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเชิงดูถูกเหยียดหยาม หรือความหมายว่า คนเถื่อน ทาส ขี้ข้า ผี ปีศาจ เป็นต้น แต่ชนที่ด้อยอำนาจกว่านั้นกลับตอบโต้ด้วยการเรียกชื่อชนชาติตัวเองขึ้นใหม่ให้มีความหมายว่า ไม่ใช่ทาส เป็นไท เป็นคน ผู้เขียนโยงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้การอธิบายที่มาของชื่อชนชาติให้มีน้ำหนัก และได้อรรถรสมากยิ่งขึ้น เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้ สิ่งที่ผู้อ่านจะซึมซับได้ คือความรู้สึกรักวิชาภาษาศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ขึ้นมาในบัดดล

สารบัญ

ภาคหนึ่ง พื้นฐานทางนิรุกติศาสตร์และประวัติศาสตร์
- บทที่ 1 ร่องรอยของ 'สยาม' ในปัจจุบัน
- บทที่ 2 ชานและชาม
- บทที่ 3 ชานและสยาม
- บทที่ 4 ร่องรอยของสยามในจารึกพะม่า
ฯลฯ

ภาคสอง ชื่อชนชาติและฐานะทางสังคม
- บทที่ 1 ลักษณะสองด้านของชื่อชนชาติ
- บทที่ 2 มิลักขะ-กิราด-นิษาท-ทาส
- บทที่ 3 วิญญาณมนุษย์
- บทที่ 4 ความสัมพันธ์ทางสังคมกับชื่อชนชาติ
ฯลฯ

ภาคสาม ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม
- บทที่ 1 กรอม กะหลอม และขอม
- บทที่ 2 กรอมในตำนานไต
- บทที่ 3 วิเคราะห์ความบางประการในตำนานไต
- บทที่ 4 กรอม ในหลักฐานมอญและพม่า
ฯลฯ

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786165146074 (ปกอ่อน) 640 หน้า
ขนาด: 146 x 210 x 37 มม.
น้ำหนัก: 750 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), บจก.
เดือนปีที่พิมพ์: 2019
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน