0
ความเป็นมาของทฤษฎี "แบ่งแยกดินแดน" ในภาคใต้ไทย
การศึกษาถึงกำเนิดและความเป็นมาของการสร้างมายาคติว่าด้วย "ลัทธิแบ่งแยกดินแดน" ในวาทกรรมการเมืองสมัยใหม่ของรัฐชาติไทย...
หนังสือ152.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    หนังสือเล่มนี้มุ่งสร้างความกระจ่างเเจ้งในการพัฒนาเเละความเป็นมาของการเมืองยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อที่จะช่วยทำให้มโนทัศน์เรื่อง "การเเบ่งเเยกดินเเดน" มีบริบทอันถูกต้องขึ้นมาด้วย เเทนที่จะเป็นเรื่องเล่าประดิษฐ์สร้างขึ้นมาโดยอำนาจรัฐเเละอุดมการณ์ของรัฐเเต่ฝ่ายเดียว จากที่ได้อภิปรายมาทั้งหมด กล่าวได้ว่าเหตุการณ์เเละความขัดเเย้งในสามจังหวัดภาคใต้นั้น มีทรรศนะในการมองที่ตรงข้ามกันระหว่างรัฐเเละประชาชนมลายูมุสลิมภาคใต้ ในขณะที่รัฐมองว่าการต่อต้านลุกฮือต่างๆ ของคนมลายูมุสลิมนั้นเป็นการ "กบฏ" เเต่ฝ่ายประชาชนมุสลิมเองกลับมองว่าการเคลื่อนไหวรวมถึงการประท้วงต่อสู้ต่างๆ นั้น คือการเรียกร้องความเป็นธรรม เเละสิทธิของพลเมืองในรัฐที่ควรเคารพวัฒนธรรมความเชื่อของคนกลุ่มน้อยไปจนถึง "การทำสงคราม" หากจำเป็น เพื่อความถูกต้องเเละเป็นธรรมตามศรัทธาเเละความเชื่อของตน

สารบัญ

- ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง
- รัฐประชาชาติคืออะไร
- ใครคือคนมลายูมุสลิม
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐมลายูมุสลิมกับรัฐไทยก่อนสมัยใหม่
- การศึกษาเรื่องปัญหาการแบ่งแยกดินแดน
- ประวัติศาสตร์ในประวัติศาสตร์
- กบฏดุซงญอในวาทกรรมประวัติศาสตร์ทางการไทย
- การเมืองกับประวัติศาสตร์
- อัจญีสุหลงกับขบวนการชาตินิยมมลายู
- การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของรัฐไทยและทรรศนะต่อคนมลายูมุสลิม 2475-2491
ฯลฯ

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786167202334 (ปกอ่อน) 150 หน้า
ขนาด: 145 x 209 x 9 มม.
น้ำหนัก: 210 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, มูลนิธิ โครงการ
เดือนปีที่พิมพ์: 2012
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน