0
คู่มือทนายความ คดีเกี่ยวกับความเท็จ (แนวทางปฏิบัติและหลักจากคำพิพากษาศาลฎีกา)
การกล่าวความเท็จเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะเป็นการกระทำที่แสดงถึงความไม่น่าไว้วางใจ ไม่มีความจริงใจต่อกัน แม้กระทั่งในทางพระพุทธศาสนาก็ถือว่า การกล่าวเท็จเป็นการผิดศีล ผิดข้อห้ามประการหนึ่ง
หนังสือ446.50 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    หนังสือ "คู่มือทนายความ คดีเกี่ยวกับความเท็จ (แนวทางปฏิบัติและหลักจากคำพิพากษาศาลฎีกา)" เล่มนี้ ชี้แจงให้เห็นการกล่าวความเท็จนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะเป็นการกระทำที่แสดงถึงความไม่น่าไว้วางใจ ไม่มีความจริงใจต่อกัน แม้กระทั่งในทางพระพุทธศาสนาก็ถือว่า การกล่าวความเท็จเป็นการผิดศีล ผิดข้อห้ามประการหนึ่งของศีลห้าที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ และถือว่าเป็นข้อที่สำคัญที่สุด เนื่องจากหากละเมิดศีลข้อนี้ได้ ก็ย่อมการทำผิดหรือละเมิดศีลข้อที่เหลือได้ทั้งหมด

    ในทางกฎหมายจึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับกรณีความเท็จไว้หลายฐาน โดยมุ่งหมายตรงจุดที่ว่าการกล่าวความเท็จนั้น เกิดผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมหรือไม่ มีผลต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมหรือไม่ ซึ่งมีการบัญญัติแยกย่อยไปตามกรณีต่าง ๆ อาทิ การแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน แกล้งบอกชื่อหรือที่อยู่อันเป็นเท็จ ฟ้องเท็จเบิกความเท็จ ทำหลักฐานเท็จ ตลอดจนการกระทำต่อเอกชนด้วยกัน ได้แก่ การหลอกลวง ฉ้อโกง เป็นต้น ดังนั้นจึงเห็นสมควรศึกษารวบรวมเกี่ยวกับความผิดต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากความเท็จ เพื่อให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้งในกฎหมายเรื่องนั้น ๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติต่อไป

สารบัญ

บทที่ 1 บททั่วไป
บทที่ 2 ความผิดฐานแจ้งความเท็จ
บทที่ 3 แกล้งบอกชื่อหรือที่อยู่อันเป็นเท็จ
บทที่ 4 เจ้าพนักงานทำเอกสารเป็นเท็จ
บทที่ 5 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา
บทที่ 6 แจ้งความเท็จว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
บทที่ 7 ฟ้องเท็จอาญาและความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 8 แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ
บทที่ 9 ผู้มีวิชาชีพทำคำรับรองเอกสารอันเป็นเท็จ
บทที่ 10 ขายของโดยหลอกลวงอันเป็นเท็จ
บทที่ 11 ความผิดฐานฉ้อโกง

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786168314265 (ปกอ่อน) 544 หน้า
ขนาด: 185 x 260 x 25 มม.
น้ำหนัก: 960 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์บัณฑิตอักษร, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 2024
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน