หนังสือ "จิตวิทยาความฝัน" หรือ "Dream Psychology" เล่มนี้ เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1920 โดย "ซิกมุนด์ ฟรอยด์" นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย โดยเนื้อหาเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ความฝัน อธิบายถึงกลไกการทำงาน และสาเหตุที่ทำให้เกิดฝัน ในยุคที่ผู้คนได้เริ่มรู้จักกับคำว่า "จิตใต้สำนึก" ยุคที่ยังไม่มีการรับรองว่าจิตใต้สำนึกนั้นมีจริงหรือไม่ เป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่ ดังเช่นในยุคปัจจุบันนี้ Dream Psychology จึงถือได้ว่าเป็นตำราขั้นพื้นฐานของ "ทฤษฎีจิตวิเคราะห์" เล่มแรก ๆ
ฟรอยด์ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของ "ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psycho-analysis)" และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของโลกจากการคิดค้นเรื่องจิตใต้สำนึก ซึ่งถือว่าเป็นผู้บุกเบิกวิชาการแขนงใหม่ให้กับมนุษยชาติ และยังเป็นผู้ริเริ่มและจุดประกายให้ผู้คนสนใจเรื่องของจิตใต้สำนึกอย่างแพร่หลายอีกด้วย
นอกจากนี้คำศัพท์ต่าง ๆ ที่เราใช้เกี่ยวกับจิตวิทยาในปัจจุบันนี้ เช่นคำว่า "การเก็บกด จิตไร้สำนึก จิตสำนึก อีโก้ ซุปเปอร์อีโก้" แม้แต่ "ลิบิโด" ซึ่งใช้แทนคำว่า "แรงขับทางเพศ" ในภาษาอังกฤษที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้ ล้วนแต่เป็นคำศัพท์ที่ซิกมุนด์ ฟรอยด์เป็นผู้บัญญัติขึ้นเป็นคนแรกทั้งสิ้น อีกทั้งชื่อของเขาเองยังถูกนำมาบัญญัติขึ้นเป็นศัพท์ใหม่อีกหลายคำ เช่น Freudian slip หรือการพลั้งปากพูด เป็นต้น
1. ความฝันมีความหมาย
2. กลไกการทำงานของความฝัน
3. ทำไมความฝัน จึงบิดเบือนความปรารถนาของผู้ฝัน
4. การวิเคราะห์ความฝัน
5. เซ็กส์ในความฝัน
6. ความปรารถนาในความฝัน
7. การทำงานของความฝัน
8. กระบวนการปฐมภูมิ และกระบวนการทุติยภูมิ-การถดถอย
9. จิตไร้สำนึก และความรู้ตัว-ความเป็นจริง
- ตำราจิตวิทยา Classics ของโลก
ISBN | : 9786164342248 (ปกแข็ง) 240 หน้า |
ขนาด | : 150 x 218 x 18 มม. |
น้ำหนัก | : 425 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษปอนด์ |
สำนักพิมพ์ | : แอร์โรว์ มัลติมีเดีย, บจก. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 2020 |
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | : Dream Psychology |