0
จิ้มก้องและกำไร : การค้าไทย-จีน 2195-2396
ฉายภาพประวัติศาสตร์การค้าและความสัมพันธ์ไทย-จีน ในยุคปลายอยุธยา-ต้นรัตนโกสินทร์ ที่กินเวลาถึง 200 ปี เผยให้เห็นความรุ่งเรืองมั่งคั่งของการค้าในภูมิภาค ภายใต้ระบบ "จิ้มก้อง" ของราชสำนักจีน
ผู้เขียน สารสิน วีระผล
หนังสือ456.00 บาท
e-books(PDF) ?399.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    ประวัติศาสตร์การค้าการต่างประเทศของไทย มักให้ความสนใจอยู่กับชาติตะวันตกเป็นสำคัญ โดยละเลยจีนซึ่งเป็น "มหาอำนาจ" 

    หนังสือ "จิ้มก้องและกำไร : การค้าไทย-จีน 2195-2396" เล่มนี้ ฉายภาพประวัติศาสตร์การค้าและความสัมพันธ์ไทย-จีน ในยุคปลายอยุธยา-ต้นรัตนโกสินทร์ ที่กินเวลาถึง 200 ปี เผยให้เห็นความรุ่งเรืองมั่งคั่งของการค้าในภูมิภาค ภายใต้ระบบ "จิ้มก้อง" ของราชสำนักจีน ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจในบ้านเมืองต่าง ๆ เกิดธุรกิจห้างร้าน นายทุนขุนนาง และพ่อค้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนการค้าในช่วงเวลานี้ ก่อนที่ความเปลี่ยนแปลงสู่สมัยใหม่ของตะวันตกจะทำให้จีนค่อย ๆ หมดบทบาทลง และไทยเริ่มเปิดประตูการค้าบานใหม่กับชาติตะวันตกในที่สุด

สารบัญ

สารบัญ : จิ้มก้องและกำไร : การค้าไทย-จีน 2195-2396

บทที่ 1 บริบทระหว่างประเทศของการค้าจีน-สยาม
บทที่ 2 โครงสร้างทางการค้าของสยาม
บทที่ 3 ยุคแรกเริ่ม พ.ศ. 2195-2263/ค.ศ. 1652-1720: ข้อจำกัดทางการค้าของจีน
บทที่ 4 การค้าสามเหลี่ยมจีน-สยาม-ญี่ปุ่น
บทที่ 5 การยกเลิกคำสั่งห้ามเดินทางค้าขายทางทะเลครั้งที่ 2 และบทบาทของการค้าข้าว
บทที่ 6 องค์กรการค้าของจีนภาคตะวันออกเฉียงใต้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
บทที่ 7 การค้าในระบบบรรณาการระหว่างจีน-สยาม: จากปลายสมัยอยุธยาถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์
บทที่ 8 ชาวจีนในชีวิตทางเศรษฐกิจของสยาม สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19
บทที่ 9 จุดสูงสุดของการค้าเรือสำเภาจีน-สยาม ในรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2352-2376/ค.ศ. 1809-1833
บทที่ 10 การอพยพของชาวจีนและผลกระทบทางเศรษฐกิจ ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367-2393/ค.ศ. 1824-1850)
บทที่ 11 ความมั่งคั่งที่เสื่อมถอยของการค้าเรือสำเภาระหว่างจีน-สยาม

- บทสรุป

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9789740218890 (ปกอ่อน) 520 หน้า
ขนาด: 165 x 240 x 22 มม.
น้ำหนัก: 755 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์มติชน, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 2024
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน