การศึกษาเรื่องราวของชนเผ่าภูไทเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยข้อมูลอาจจะมาจากเรื่องเล่า และตำนานหรือจากประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกไว้ในชนชาติหลักที่บันทึกไว้เป็นข้อมูลโดยเพื่อเป็นการสืบหาข้อมูลโดยเก็บเล็กผสมน้อยในการเรียบเรียง
ผู้เรียบเรียงก็เป็นคนภูไทคนหนึ่งเช่นกัน แต่ความเป็นมาของตนเองแทบจะเลือนหายไม่ค่อยรู้จักบรรพบุรุษของตัวเองมากนัก จนกระทั่งได้รับข้อมูลที่มีผู้เผยแพร่ตามที่ต่างๆ จึงได้นำมาประติดประต่อเรื่องราวและเรียบเรียงเรื่องราวเข้าด้วยกัน นับวันขนบธรรมเนียมประเพณีของคนเผ่าภูไทแทบจากถูกกลบกลืนไปหมดแล้ว นอกจากภาษาที่เรียกว่าภาษาภูไทเท่านั้นที่ยังยืนยันถึงการเป็นคนเผ่าภูไทและรวมทั้งพิธีการเลี้ยงผีหมอการเหยาและการนับถือผีของบรรพบุรุษ
- บทที่ ๑ คนภูไทหรือผู้ไท
- บทที่ ๒ ตำนานคนเผ่าภูไท
- บทที่ ๓ การอพยพของคนภูไทสู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
- บทที่ ๔ คนภูไทอพยพเข้าสู่ประเทศไทย
- บทที่ ๕ ประเพณีและวัฒนธรรมของคนภูไท
- บทที่ ๖ ลักษณะทางสังคมของคนภูไท
- บทที่ ๗ คติความเชื่อผี วิญญาณ
ฯลฯ
หนังสือ “ชนเผ่า : ภูไทหรือผู้ไท” ในการพิมพ์ครั้งแรกคือ “ภูไทหรือผู้ไท : ชนเผ่าไทยแห่งแคว้นสิบสองจุไทในประเทศไทย” จัดพิมพ์โดย บริษัท ปิยมิตร มัลติมีเดีย จำกัด เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๗ สำหรับการพิมพ์ครั้งนี้ โดย สำนักพิมพ์สื่อสารวิชาการ เพื่อให้เหมาะสมแก่เนื้อหาที่เน้นความเป็นมาและความเป็นอัตลักษณ์ของเผ่าภูไทที่อยู่ในประเทศไทย
รหัสสินค้า | : 5522840109675 (PDF) 193 หน้า |
ชนิดกระดาษ |