"ความตาย" และ "ความหมายของชีวิต" สัมพันธ์กับการสร้างแบบแผนอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่ผู้คนปรารถนาในแต่ละยุคสมัย เรื่องราวของความหวังและความใฝ่ฝันซึ่งถูกถ่ายทอดออกมาหลังชีวิตสิ้นสุดลงนั้น จึงเป็นการวางชีวิตของผู้วายชนม์ไว้บนระบอบเกียรติยศที่สังคมได้ยอมรับกันโดยดุษณี
หนังสือ "ชาติเมื่อวายชนม์ อุดมการณ์รัฐไทยในอนุสรณ์ฯ ผู้ดับสูญ" เล่มนี้ ไม่เพียงฉายภาพให้เห็นอารมณ์ความรู้สึกของคนภาคใต้ในช่วงทศวรรษ 2460-2550 เท่านั้น แต่ยังชี้ให้เห็นอุดมการณ์ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" ที่นำมาสู่ความรู้สึก "หลอมใต้รวมไทย" ซึ่งถูกสถาปนาไว้เป็นเกียรติยศต่อ "คนตาย" ในอนุสรณ์ฯ ที่สร้างโดย "คนเป็น"
บทที่ 1 กำเนิดหนังสือแจกงานศพ จากรัฐกรุงเทพฯ สู่อาณานิคมทางใต้
บทที่ 2 แรกเริ่มอารมณ์ความรู้สึกและความใฝ่ฝันแบบรัฐชาติกับสำนักของสังคมท้องถิ่นภาคใต้
บทที่ 3 คนล้มหาย(แต่ชาติไม่)ตายจาก การสร้าง "ชีวิตคนใต้" ยุคสงครามเย็น
บทที่ 4 หลอมใต้รวมไทย ความผูกพันทางอารมณ์และความรู้สึกใหม่ต่อท้องถิ่นของชาติไทย
บทที่ 5 "คนเป็น" ในพื้นที่ "คนตาย" การแสดงออกซึ่งเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และการเข้าสู่พระบรมโพธิสมภาร
บทที่ 6 อนุสรณ์ทรงจำแห่ง "ชาติ" ของผู้ดับสูญอันเป็นนิรันดร์
ISBN | : 9789740218944 (ปกอ่อน) 416 หน้า |
ขนาด | : 143 x 210 x 17 มม. |
น้ำหนัก | : 455 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : มติชน, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 6/2024 |