สารบัญ : ชิงแดนแม่น้ำโขง : ประวัติศาสตร์เสียดินแดนฉบับวิวาท(กรรม)
1 บทนำ
2 การปกครองแบบจารีตของสยามและเวียดนาม
- ปัญหาการอ้างสิทธิเหนือ "ประเทศราช" ของสยามและเวียดนาม
- ระเบียบโลกใต้กรงเล็บมังกร
- สรุป
3 สู่ระเบียบโลกใหม่: การเผชิญหน้าระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
- เขตแดน 2 ฝั่งโขงในบันทึกฝรั่งเศส
- การกำหนดเขตแดนระหว่างสยามกับเวียดนาม
- เมื่อการเจรจากลายเป็นข้อพิพาท
- สัญญาสยาม-ฝรั่งเศสหลังวิกฤติ ร.ศ. 112
- สรุป
4 การเจรจาเขตแดนทางน้ำในแม่น้ำโขงระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1893-1926
- ปฏิญญา ค.ศ. 1896 กับการรับประกันดินแดนของสยาม
- ท่าทีของฝรั่งเศสในอนุสัญญา ค.ศ. 1902
- หนังสือสัญญา ค.ศ. 1904 กับความมั่นคงของสยาม
ฯลฯ
5 สรุป
"พวกล่าเมืองขึ้นฝรั่งและศักดินาสยามได้ปะทะกันและต่อรองกันบนแผ่นดินลาว เพื่อผลประโยชน์ของพวกเขา แต่ผู้ที่รับเคราะห์กว่าใครทั้งหมดคือประชาชนลาวที่สูญเสียเอกราช"
นี่คือข้อความซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ของประเทศลาวอันสะท้อนถึงความสูญเสียดินแดนของชาวลาวให้แก่ฝรั่งเศสและสยาม ที่น่าสนใจคือประวัติศาสตร์ไทยก็กล่าวว่าสยามเสียดินแดนลาวไปเช่นเดียวกัน เช่นนั้นแล้วใครกันที่เสียดินแดน? แท้จริงแล้วมีการเสียดินแดนหรือไม่? ความจริงนั้นเป็นเช่นไร?
หนังสือ "ชิงแดนแม่น้ำโขง : ประวัติศาสตร์เสียดินแดนฉบับวิวาท(กรรม)" เล่มนี้ จะพาท่านสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์และสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส เพื่อสืบสาวความจริงของประวัติศาสตร์การเสียดินแดนบริเวณแม่น้ำโขงของสยาม อีกสิ่งหนึ่งที่หนังสือเล่มนี้พยายามเสนอก็คือผลพวงจากการเจรจาแบ่งเขตแดนของสยามกับฝรั่งเศส ได้นำมาซึ่งปัญหาการต่อสู้ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในเวลาต่อมา หรือแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ อุดมการณ์ชาตินิยมอันล้นเกิน ความบาดหมาง และการต่อสู้กันส่งผลอย่างยิ่งต่อภราดรภาพของประเทศในภูมิภาคอาเซียน นับเป็นอุปสรรคขวางกั้นความร่วมมือและการพัฒนาของกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างยิ่ง
ISBN | : 9789740218906 (ปกอ่อน) 248 หน้า |
ขนาด | : 143 x 210 x 10 มม. |
น้ำหนัก | : 280 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : มติชน, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 3/2024 |