0
ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม: การทะลุกรอบและกับดักของความคิดแบบคู่ตรงกันข้าม
ขั้นตอนของการวิจัย ทั้งในขั้นตอนของการคิดโจทย์วิจัย กระบวนการวิจัย และขั้นตอนการวิเคราะห์ ซึ่งจะช่วยให้การวิจัยกลายเป็นพลังที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และสติปัญญาในสังคม
หนังสือ275.50 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    เมื่อปัญหาในการวิจัยทางวัฒนธรรมมีความซับซ้อนมากขึ้น ความต้องการเปลี่ยนแปลงทั้งทางทฤษฎีและวิธีวิทยาในการวิจัยถึงจำเป็น โดยสามารถเริ่มต้นด้วยการทบทวนและวิพากษ์วิจารณ์ ทฤษฎีอย่างมีสติให้มากขึ้น แต่ไม่ใช่เพื่อการแสวงหาคำตอบหรือหากรอบความคิดเช่นที่เคยทำกันมา ทว่าต้องมองทฤษฎีให้ทะลุออกไปในหลาย ๆ มิติ ทั้งในแง่ที่เป็นวิธีคิด (mode of thinking) เครื่องมือทางความคิดหรือเครื่องช่วยคิด (heuristic toole) และในแง่ของการตั้งประเด็นคำถามที่แตกต่างจากเดิม เพื่อให้เกิดมุมมองใหม่ที่ท้าทายอย่างหลากหลาย

    "การวิจัยทางสังคมศาสตร์มักเกี่ยวข้องกับผู้คนหลายฝ่าย นักวิจัยจึงควรให้ความสำคัญแก่กระบวนการมีส่วนร่วม ในการวิจัยมากขึ้นด้วย ในทุก ๆ ขั้นตอนของการวิจัย ทั้งในขั้นตอนของการคิดโจทย์วิจัย กระบวนการวิจัย และขั้นตอนการวิเคราะห์ซึ่งจะช่วยให้การวิจัยกลายเป็นพลังที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และสติปัญญาในสังคม" 

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ทฤษฎีและการวิจัยวัฒนธรรมในยุคหลังสมัยใหม่
บทที่ 3 การทะลุกรอบคิดของทฤษฎีและวิธีวิทยาของการทะลุกรอบคิด
บทที่ 4 วิธีวิทยาของวิธีคิดในการตั้งโจทย์วิจัย
บทที่ 5 วิธีคิดของคนไทย
บทที่ 6 การสร้างความคิดนามธรรมในวัฒนธรรมไทย
บทที่ 7 มองข้ามวัฒนธรรมในวัฒนธรรมไทย
บทที่ 8 วิธีวิทยาในการศึกษาคนชายขอบ
บทที่ 9 ปัญหาและทิศทางในการวิจัยชาวเขา
บทที่ 10 บทสรุป: พื้นที่และตัวตนของการวิจัย

คำนิยม
ที่ผมยกบางประเด็นที่อาจารย์วิเคราะห์ไว้มาเป็นตัวอย่างข้างต้น ก็เพื่อเป็นเครื่องบ่งบอกคุณค่าแท้ของหนังสือสำคัญเล่มนี้ ซึ่งท่านผู้ใฝ่ใจทุกท่านจะประจักษ์ด้วยตัวเองมากยิ่งขึ้นเมื่อเดินทางเข้าสู่เนื้อหาสาระทั้งหมดที่อาจารย์ได้ทำการ "เจียระไน" ไว้ให้แล้ว ขอคารวะความรอบรู้ ความคงแก่เรียน และผลงานทางความคิดของอาจารย์ไว้ ณ ที่นี้ศาสตราจารย์ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง- ที่ปรึกษามูลนิธิภูมิปัญญา
รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786164860247 (ปกอ่อน) 288 หน้า
ขนาด: 144 x 210 x 15 มม.
น้ำหนัก: 330 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 2020
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน