"นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง : ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2550" เล่มนี้ เป็นผลงานของ "สมชาย ปรีชาศิลปกุล" และเป็นหนังสือเล่มที่ 3 ของ "ชุด กษัตริย์ศึกษา" ซึ่งผู้เขียนไม่เพียงแต่เข้าไป "อ่าน" รายงานการประชุมสภา/กรรมาธิการ เพื่อให้เห็นการอภิปรายและไม่อภิปรายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ ตลอดเวลา 75 ปี (2475-2550) แต่สมชายยังชี้ให้เห็นถึงการต่อสู้ทางการเมืองที่ต่อเนื่องมาจากตั้งแต่การปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 มาจนถึงปัจจุบัน
และถึงแม้ว่าการศึกษาของหนังสือเล่มนี้จะจบที่รัฐธรรมนูญ 2550 แต่โดยทิศทางแล้วก็จะเห็นว่าไม่แปลกที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ประกอบพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 จะมีเนื้อหาออกมาดังที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน หากเราจะเข้าใจสังคมไทย เราคงละเลยไม่ได้ที่จะต้องศึกษาบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในมิติต่าง ๆ ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และนี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งในการจัดทำหนังสือชุดกษัตริย์ศึกษาและจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้
บทที่ 1 บทเริ่มต้น
บทที่ 2 อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย
บทที่ 3 อันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้
บทที่ 4 พระราชอำนาจวีโต้ร่างกฎหมาย
บทที่ 5 การสืบราชสมบัติภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
บทที่ 6 จากองคมนตรีสู่สภาที่ปรึกษาในพระองค์จำแลง
บทที่ 7 ในฐานะประมุขแห่งกองทัพ
บทที่ 8 การประกอบสร้างระบอบ "อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ในรัฐธรรมนูญไทย
- บทส่งท้าย ฤๅเปลี่ยนผ่านสู่ปฐมบทแห่งยุค "หลังระบอบประชาธิปไตย" อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ISBN | : 9786167667737 (ปกอ่อน) 384 หน้า |
ขนาด | : 166 x 240 x 22 มม. |
น้ำหนัก | : 605 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : ฟ้าเดียวกัน, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : --/2018 |