กระบวนการสร้างรัฐสมัยใหม่เป็นหัวข้อสำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ งานของ "จา เอียน ชง" อธิบายกระบวนการสร้างรัฐในเอเชียรวมทั้งรัฐไทยจากกรอบการวิเคราะห์ปัจจัยระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการแทรกแซงจากภายนอกและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐมหาอำนาจยุโรป ในฐานะปัจจัยชี้ขาดในการสถาปนารูปแบบของรัฐแบบใดแบบหนึ่งขึ้นมา ซึ่งก้าวข้ามคำอธิบายที่มุ่งเน้นเฉพาะแต่ปัจจัยภายในเท่านั้น
"บงการอธิปไตย : การแทรกแซงจากจักรวรรดินิยมตะวันตกกับการก่อรูปของรัฐสยาม" เล่มนี้ จึงมีคุณูปการทั้งในระดับของกรอบการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และข้อค้นพบเชิงประจักษ์ในกรณีศึกษาของรัฐไทยสมัยใหม่ การก้าวข้ามไปให้พ้นพลวัตภายใน ย่อมช่วยทำให้เราเห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลวัตเชิงอำนาจภายในกับภายนอก และภาพการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของสยามรัฐนาวาได้อย่างแจ่มชัดมากขึ้น หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยก่อให้เกิดการถกเถียงแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในไทยไม่มากก็น้อย
บทนำ "บงการอธิปไตย" อีกนึ่งบทสนทนาว่าด้วย "สยามอธิปไตย" ในทัศนะ "จา เอียน ชง" โดย "ศิวพล ชมภูพันธุ์"
บทที่ 1 การสร้างสถาบันทางการปกครอง : ทฤษฎีการก่อรูปของรัฐและความบังเอิญของรัฐอธิปไตยในบริเวณชายขอบของโลก
บทที่ 2 พลิกโฉมรัฐ : ระบบการแข่งขัน, ทัศนะของประเทศมหาอำนาจต่อต้นทุนค่าเสียโอกาสในการแทรกแซง และรูปแบบองค์กรรัฐในระบบการปกครองชายขอบ
บทที่ 3 ข้อสังเกตเชิงวิธีวิทยา : สมมติฐาน ขอบเขต การศึกษา และการออกแบบวิจัย
บทที่ 4 สยามที่แตกต่าง ค.ศ. 1893-1952 : การแทรกแซงจากภายนอกและการโอนอ่อนในการก่อรูปของรัฐอธิปไตยสยาม
ISBN | : 9786168215517 (ปกอ่อน) 344 หน้า |
ขนาด | : 143 x 209 x 16 มม. |
น้ำหนัก | : 380 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : ILLUMINATIONS |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 6/2022 |