0
บันทึกประวัติศาสตร์ "มหากาพย์เขาพระวิหาร"
เผยคำพิพากษาศาลฎีกาฯ และคำพิพากษาศาลโลก กรณีปราสาทพระวิหาร มายาคติและความจริงที่คนไทยต้องรู้
ผู้เขียน นพดล ปัทมะ
หนังสือ242.25 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    บันทึกประวัติศาสตร์ "มหากาพย์เขาพระวิหาร" เล่มนี้ นำเสนอเรื่องราวของการสู้คดีระหว่างประเทศกัมพูชาที่กำลังจะขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยประเทศกัมพูชาขอขึ้นทั้งตัวปราสาทและพื้นที่ทับซ้อนด้วย แต่ประเทศไทยไม่ยินยอม จึงมีปัญหาเกิดการเรียกร้องสิทธิพื้นที่ทับซ้อนของประเทศไทย หลังจากนั้นจึงได้มีการหารือกันระหว่างฝ่ายไทย กัมพูชา และยูเนสโก ที่กรุงปารีส และการจัดทำร่างคำแถลงการณ์ร่วม เนื่องจากกัมพูชายื่นคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่ผนวกเอาพื้นที่ทับซ้อนไปขึ้นทะเบียนด้วยตั้งแต่ปี 2549 แต่การแก้ปัญหายังไม่แล้วเสร็จ รัฐบาลต่อมาจึงต้องรับช่วงต่อและเจรจาคำแถลงการณ์ร่วม ในการประชุมคณะกรรมการมรกดกโลก ครั้งที่ 32 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2551 ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ซึ่งประเทศไทยคัดค้าน ผลสรุปก็คือ รัฐบาลไทยนำโดยนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ปกป้องพื้นที่ทับซ้อนไม่ให้ถูกนำไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก

    โดยคณะกรรมการมรดกโลกตัดสินให้ประเทศกัมพูชายอมลดพื้นที่ที่จะนำไปขึ้นทะเบียนลง และยอมตัดพื้นที่ทับซ้อนออกไม่ได้นำไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก ขณะที่ฝ่ายการเมืองบางฝ่ายกลับกล่าวหาว่าเขาเป็นคนเซ็นยินยอมยกปราสาทพระวิหารให้กับประเทศกัมพูชา จนเกิดคดีความและมีการยื่นเรื่องถอดถอนนายนพดล ปัทมะ ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่ในที่สุด ศาลฎีกาฯ แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็พิพากษายกฟ้อง อันเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า "นพดล ปัทมะ" เป็นผู้บริสุทธ์ในกรณีดังกล่าว นำมาซึ่งหนังสือเล่มนี้ ซึ่งอธิบายถึงรากเหง้าของปัญหา ความพยายามของรัฐบาลในช่วงเวลาดังกล่าวที่ปกป้องมิตรภาพกับประเทศเพื่อนบ้านไปพร้อมกับรักษาผลประโยชน์ของชาติ จนถึงแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างตรงประเด็น!

สารบัญ

บทที่ 1 คำพิพากษาศาลโลกปี 2505 และการปฏิบัติตามคำพิพากษา
บทที่ 2 ที่มาของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร และปัญหาเรื่องเส้นเขตแดน
บทที่ 3 ลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
บทที่ 4 ลำดับความเป็นมาของการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยกัมพูชา
บทที่ 5 สถานการณ์และปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกของกัมพูชา ในขณะที่ผมเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
บทที่ 6 การดำเนินการและความพยายามปกป้องสิทธิทางด้านเขตแดนของไทยก่อนการหารือที่กรุงปารีส
บทที่ 7 การหารือระหว่างฝ่ายไทย กัมพูชา และยูเนสโก ที่กรุงปารีส
บทที่ 8 ร่างคำแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ที่กรุงปารีส
บทที่ 9 คำแถลงการณ์ร่วมได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงาน
บทที่ 10 การพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างคำแถลงการณ์ร่วมและแผนผังแนบท้ายโดยคณะรัฐมนตรี
ฯลฯ

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9789740214755 (ปกอ่อน) 264 หน้า
ขนาด: 162 x 240 x 12 มม.
น้ำหนัก: 385 กรัม
เนื้อในพิมพ์: คละสี
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์มติชน, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 3/2016
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน