0
ประวัติศาสตร์ความคิดเศรษฐกิจการเมือง (PDF)
ประวัติศาสตร์ความคิดเศรษฐกิจการเมือง
e-books(PDF) ?250.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

หนังสือ เรื่อง ประวัติศาสตร์ความคิดเศรษฐกิจการเมือง นำเสนอสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ความคิดทางเศรษฐกิจการเมืองสำนักต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่ 1) ว่าด้วยความคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง 2) แนวคิดสมัยก่อนสำนักคลาสสิก 3) สำนักคลาสสิก 4) สำนักนีโอคลาสสิก 5) สำนักมาร์กซิสต์ 6) สำนักเคนส์ 7) เศรษฐศาสตร์การพัฒนา ?? สำนักออสเตรีย 9) สำนักการเงินนิยม 10) สำนักชุมเพเทอร์ 11) สำนักสถาบันนิยม 12) เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม และ 13) เสรีนิยมใหม่ โดยมุ่งหมายให้นักศึกษา นักวิชาการและบุคคลทั่วไปที่สนใจได้เข้าใจประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและการเมือง ความหมาย แนวทางการศึกษาเศรษฐกิจการเมือง แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมือง ทฤษฎีที่เกี่ยวกับรัฐด้านเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจ พัฒนาการทางเศรษฐกิจการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจการเมือง โดยนำเสนอผ่านประวัติศาสตร์ของสำนักคิดทางเศรษฐกิจการเมืองเป็นสำคัญ

สารบัญ

บทที่ 1 ว่าด้วยความคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง
บทที่ 2 แนวคิดสมัยก่อนสำนักคลาสสิก
บทที่ 3 สำนักคลาสสิก
บทที่ 4 สำนักนีโอคลาสสิก
บทที่ 5 สำนักมาร์กซิสต์
บทที่ 6 สำนักเคนส์
บทที่ 7 เศรษฐศาสตร์การพัฒนา
บทที่ 8 สำนักออสเตรีย
บทที่ 9 สำนักการเงินนิยม
บทที่ 10 สำนักชุมเพเทอร์
บทที่ 11 สำนักสถาบันนิยม
บทที่ 12 เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
บทที่ 13 เสรีนิยมใหม่

ข้อมูลเพิ่มเติม

หนังสือ ประวัติศาสตร์ความคิดเศรษฐกิจการเมือง เล่มนี้มีเรื่องราวของการจัดทำเป็นรูปเล่มอย่างที่ผู้อ่านถืออยู่ในมือนี้ จากการที่ข้าพเจ้าในฐานะผู้สอนประจำรายวิชา 925-213 เศรษฐกิจการเมือง (Political Economy) เปิดสอนครั้งแรกเมื่อภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดยมีผู้เรียนเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา
การจัดการรัฐกิจ โดยมีนักศึกษารหัส’59 เป็นรุ่นแรกที่ได้เรียนในรายวิชาดังกล่าวนี้ และเปิดสอนต่อเนื่องทุกภาคการศึกษาที่ 2 จวบจนกระทั่งปัจจุบัน (พ.ศ. 2564) โดยแต่เดิมนั้นเอกสารประกอบการสอนที่ข้าพใช้ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนนั้นค่อนข้างกระจัดกระจายและมีที่มาจากหลากหลายแหล่ง อีกทั้งไม่ได้จัดหมวดหมู่อย่างเป็นระบบ

ด้วยเหตุดังนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ประมวลสังเคราะห์จากความสนใจของตนเองที่เป็นทุนเดิม จากประสบการณ์ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาในระดับปริญญาโท (คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์) และปริญญาเอก (คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และจากการค้นคว้าสืบค้นด้วยตนเองผ่านช่องทางต่างๆ บ้างก็ดาวน์โหลดในรูปของไฟล์หนังสือฟรี บทความวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศ บ้างก็ลงทุนซื้อหามาเป็นสมบัติส่วนตัว เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งข้าพเจ้าก็พัฒนาเป็นเอกสารคำสอน จัดหมวดหมู่หัวข้อต่างๆ ให้เป็นระบบระเบียบโดยพิจารณาดูคำอธิบายรายวิชาเป็นกรอบในการดำเนินเรื่อง สลับกับการใช้ทดลองสอน ปรับปรุงพัฒนาไปเรื่อยๆ พร้อมแหล่งอ้างอิงที่น่าสนใจที่สะสมเพิ่มเติมตามระยะเวลาที่ล่วงเลยไป เอกสารต่างๆ เหล่านั้นซึ่งปัจจุบันก็คือเอกสารวิชาการทั้งหมดปรากฏอยู่ท้ายเล่มหนังสือนี้โดยละเอียดซึ่งผู้ที่สนใจสามารถจะสืบค้นและศึกษาต่อได้โดยง่าย

อนึ่ง รายวิชา 925-213 เศรษฐกิจการเมืองที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบสอนนั้น ปรากฏอยู่ในเล่มหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558 โดยจัดอยู่ในกลุ่มวิชาชีพบังคับ คำอธิบายรายวิชาก็มีความน่าสนใจทั้งแก่นักศึกษา นักวิชาการและบุคคลทั่วไปที่สนใจใคร่รู้ซึ่งควรกล่าวถึงในที่นี้ นั่นคือ “ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและการเมือง ความหมาย แนวทางการศึกษาเศรษฐกิจการเมือง แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ทฤษฎีที่เกี่ยวกับรัฐด้านเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจ พัฒนาการเศรษฐกิจการเมืองในประเทศไทย ปัญหาเศรษฐกิจการเมือง ทุนนิยม ประชานิยม รัฐสวัสดิการ เศรษฐกิจการเมืองและระบบโลก”

จุดเริ่มต้นของการเกิดเป็นหนังสือเล่มนี้โดยเนื้อแท้แล้วจึงเป็นเรื่องที่เกิดจากการตระหนักในความสำคัญของรายวิชาเศรษฐกิจการเมือง ด้วยข้าพเจ้าเห็นว่าจะเป็นการดีกว่าหากจะพัฒนาเนื้อหาของรายวิชานี้ให้เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาหนักแน่น กว้างขวาง ครอบคลุม และทันสมัย แทนที่จะเป็นเพียงเอกสารประกอบการสอนหรือเอกสารคำสอนเท่านั้น และแทนที่จะจำกัดการสอนเฉพาะในรายวิชา 925-213 เศรษฐกิจการเมือง ข้าพเจ้าได้ใช้ประยุกต์ใช้เป็นหนังสือสำหรับสอนในรายวิชา 925-102 ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ และรายวิชา 925-251การบริหารการคลังสาธารณะอีกด้วย

ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความรู้ความคิดในมิติประวัติศาสตร์ความคิดเศรษฐกิจการเมือง โดยมิได้มองว่าเศรษฐกิจกับเมืองเป็นเรื่องที่แยกขาดออกจากกัน หรือถ้าจะกล่าวให้เฉพาะเจาะจงก็คือมิได้มองว่าเศรษฐศาสตร์กับรัฐศาสตร์เป็นเรื่องที่พิจารณาแยกกัน หากทว่าทั้งสองศาสตร์นี้ต่างก็เกี่ยวพันเชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างแยกไม่ออก เสมือนเหรียญที่ย่อมต้องมีสองด้าน และว่าที่จริงก่อนที่จะเกิดความรู้ที่เรียกว่าเศรษฐศาสตร์ขึ้นมาในศตวรรษที่ 19 โดยอัลเฟรด มาร์แชล เจ้าสำนักเศรษฐศาสตร์สำนัก
นีโอคลาสสิกและได้รับการขนานนามว่าบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์จุลภาคนั้น ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่านั้น แท้จริงก็มีจุดเริ่มต้นมาจากสิ่งที่เรียกกันว่าเศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy) มาก่อนแล้วนับเนื่องมาแต่อดัม สมิธ โดยที่ผู้อ่านจะได้ทราบรายละเอียดซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือต่อไป

หนังสือเล่มนี้จึงเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นด้วยเจตนาแรกเริ่มที่จะช่วยให้ผู้เรียน
ในระดับชั้นปริญญาตรีได้มีแหล่งในการค้นคว้าสืบหาความรู้ประวัติศาสตร์ความคิดเศรษฐกิจการเมือง แต่เมื่อทำขึ้นมาเป็นหนังสือแล้ว เจตนาเริ่มต้นก็ขยายผลมุ่งหมายสู่ผู้คนในวงกว้างออกไปที่สนใจใครรู้ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา นักวิชาการที่อยู่นอกวงการ เศรษฐศาสตร์การเมือง เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์และการบริหารการคลังสาธารณะ ฯลฯ

ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจที่รักในการศึกษา ใคร่รู้ในเรื่องราวประวัติศาสตร์ความคิดเศรษฐกิจการเมือง ส่วนข้อบกพร่องทั้งหลายทั้งปวง ข้าพเจ้าในฐานะผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

ไพศาล บรรจุสุวรรณ์
สิงหาคม 2564

รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 5522840232847 (PDF) 275 หน้า
ชนิดกระดาษ: PDF
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน