หนังสือเล่มนี้ อธิบายเรื่องที่ยากอย่างนิติปรัชญาออกมาโดยใช้ภาษาที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และทำให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนกำลังนั่งฟังผู้เขียนเล่าเสียมากกว่าอ่านสิ่งที่ผู้เขียนเขียน เหมาะกับทั้งนักกฎหมายและผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมาย
สำหรับนักกฎหมายนั้น เหมาะแก่การเปิดโลกทัศน์ เพราะเป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมาย แม้การเลือกใช้คำบางคำอาจแตกต่างจากศัพท์ที่นักกฎหมายคุ้นเคยอยู่บ้าง แต่การศึกษากฎหมายนอกกรอบของกฎหมาย ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจและสำคัญต่อนักกฎหมายอย่างมากทีเดียว
สำหรับผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมาย หนังสือเล่มนี้อาจพอเทียบได้กับ "ปรัชญากฎหมาย : ความรู้ฉบับพกพา" ของ เรย์มอนด์ แวคส์ แต่เล่มนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นความรู้ฉบับพกพายิ่งกว่า เพราะเนื้อหา 'กระชับ' กว่าพอสมควร จึงเหมาะกับทั้งผู้ที่ไม่รู้จักนิติปรัชญาและต้องการจะเริ่มต้นศึกษา รวมถึงผู้ที่พอจะรู้จักนิติปรัชญาอยู่บ้างแล้ว และต้องการอ่านงานเขียนเกี่ยวกับนิติปรัชญาที่เข้าใจง่าย สั้น กระชับ และครอบคลุมประเด็นและแนวคิดที่สำคัญในทางนิติปรัชญาค่อนข้างครบถ้วน
บทที่ 1 ปรัชญากฎหมายศึกษาอะไร
บทที่ 2 ระบบกฎหมาย และความแตกต่างของกฎหมายจากกฎเกณฑ์ทางสังคมอื่น
บทที่ 3 กฎหมายในฐานะระเบียบแบบบังคับและการผูกขาดการใช้อำนาจโดยชุมชน
บทที่ 4 กฎหมายในฐานะเอกภาพอันซับซ้อนกันของกฎสองประเภท
บทที่ 5 สำนักกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law)
บทที่ 6 สำนักกฎหมายบ้านเมือง (Legal Positivism)
บทที่ 7 หลักการใช้ดุลพินิจ (Discretion Thesis)
บทที่ 8 สัจนิยมทางกฎหมาย (Legal Realism)
บทที่ 9 สิทธิคืออะไร
บทที่ 10 มีสิทธิสากลหรือไม่
ISBN | : 9786168215555 (ปกอ่อน) 200 หน้า |
ขนาด | : 128 x 185 x 10 มม. |
น้ำหนัก | : 185 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : ILLUMINATIONS |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 9/2022 |