0
พระสมเด็จวัดระฆังในแบบพิมพ์ภาพ 3 มิติ แบบ perspective (PDF)
ตลอดระยะเวลาที่มีการนำพระสมเด็จวัดระฆังมาบูชาเช่าหากัน ท่านเคยทราบกันมาก่อนหรือไม่ว่า พระสมเด็จวัดระฆัง ได้นำแบบภาพ 3 มิติ แบบperspective มาใช้ในการออกแบบเช่นเดียวกับพระเครื่องประเภทอื่ีนๆ
e-books(PDF) ?1,000.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    เอกสารฉบับนี้เป็นเอกสารที่สรุปจากการทำวิจัย ในหัวข้อ แบบพิมพ์ภาพ 3 มิติ แบบ perspective กับงานพุทธลักษณ์ไทย ตลอดระยะเวลา ที่มีการนำพระสมเด็จฯมาบูชาและมีการเช่าหากันต่อมาหลายสิบปีแล้วนั้น มีใครเคยรู้จักตัวตนหรือเอกลักษณ์ที่แท้จริงของพระสมเด็จฯหรือไม่ เอกสารฉบับนี้จึงได้นำ หลักการเขียนภาพ การอ่านภาพ 3 มิติ แบบ perspective ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการอธิบายความเป็นพระสมเด็จฯตามหลักการ มากไปกว่านี้ ช่างผู้ออกแบบแม่พิมพ์ได้ใช้ตำแหน่งมุมมองต่างเป็นตัวกำหนดแบบพิมพ์จึงทำให้เกิดแบบพิมพ์ที่หลากหลาย และใช้ กรอบสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า(Frame)ในแบบเฉพาะ 4 แบบ เท่าที่ผ่านมายังไม่มีผู้เคยทราบมาก่อน   

สารบัญ

คำนำ.....................................................................................4
ข้อมูลพื้นฐาน......................................................................... 6
แบบทางนวัตกรรม................................................................... 6
แบบ 2 มิติ..............................................................................7
แบบ 3 มิติ..............................................................................7
แบบ 3 มิติแบบ perspective......................................................8
หลักการพื้นฐานของภาพ perspective..........................................9
หลักการวาดภาพ แบบ 1 จุด แบบ 2 จุด.......................................10
หลักการวาดภาพ แบบ 3 จุด......................................................11
โครงสร้างหลักของการออกแบบ.................................................11
โครงสร้างแบบที่ 1 แบบที่ 2......................................................12
แบบที่ 1 Frame A...................................................................12
แบบที่ 2 Frame B...................................................................12
แบบที่ 3 Frame C...................................................................13
แบบที่ 4 Frame D...................................................................13
คำนิยาม พระสมเด็จวัดระฆัง.......................................................18
หลักและวิธีการออกแบบ....................................................22
หลักการพิจารณาแบบพิมพ์ ในมุมมอง(SP) 60?..............................9
ตัวอย่างแบบพิมพ์Platfrom A.-D./ในมุมมอง 60?...........................40-137
แบบพิมพ์ที่เกิดจากมุมมอง (SP)70?....................................138
หลักการพิจารณาแบบพิมพ์ในมุมมอง(SP)70?................................139
ตัวอย่างแบบพิมพ์ Platfrom A.-D.ในมุมมอง 70?...........................142-169
แบบพิมพ์พระสมเด็จฯที่เกิดจากมุมมอง(SP)80?.............................170
หลักการพิจารณา แบบพิมพ์ที่เกิดจากมุมมอง(SP)80?......................173
ตัวอย่างแบบพิมพ์Platfrom A.-D.ในมุมมอง 80?.............................174-197
ด้านหลังพระสมเด็จฯ...........................................................203
แบบพิมพ์ลักษณะพิเศษ..............................................................205-229
อ้างอิง.............................................................................233

แบบพิมพ์พระสมเด็จฯที่เกิดจากมุมมอง (SP) 60? 20

ข้อมูลเพิ่มเติม

ย้อนอดีตกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ตัวผมเองก็เหมือนกันกับอีกหลายๆท่านที่พยายามศึกษาและเรียนรู้พระเครื่องต่างๆ อาจจะมีเหตุผลและจุดมุ่งหมายที่คล้ายๆกัน และก็น่าจะมีปัญหาและอุปสรรคที่คล้ายๆกันด้วย และก็น่าจะเป็นปัญหาหลักของวงการพระเครื่องไทยไปด้วยสิ่งนั้นก็คือ เรื่องของแบบพิมพ์ จึงคิดและหาวิธีการเพื่อที่จะหาคำตอบ โดยเริ่มต้นศึกษา พระเครื่องประเภทหลักๆ ที่เรียกว่าชุด เบญจภาคี ซึ่งประกอบไปด้วย พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พระสมเด็จวัดเกศไชโย พระซุ้มกอ พระนางพญา พระรอด และพระผงสุพรรณ โดยเริ่มทำการศึกษาตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อนนี้ โดยใช้แนวทางการศึกษาในลักษณะของการ ทำวิจัย ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์และเก็บรวบรวมข้อมูลเรื่อยมา จนได้ข้อมูลของพระเครื่องแต่ละประเภทตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาพระเครื่องประเภทยอดนิยมอื่น อีกหลายประเภทซึ่งก็จะได้นำเสนอในครั้งต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน และเป็นแนวทางในการศึกษาและพิจารณาพระเครื่องอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ผมจะเปลี่ยน รูปของการนำเสนอจากรูปแบบประเภทของงานวิจัย ให้มาเป็นแบบหนังสือประเภทแนะนำ (How to) โดยจะย่อเนื้อหาให้สั้นลงและที่สำคัญที่สุดคือจะทำให้เข้าใจแบบง่ายๆ เพื่อให้เหมาะสมกับคนในสังคมพระเครื่อง
หวังว่าเอกสารฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์กับท่านไม่มากก็น้อย ก็ขอได้รับความขอบคุณ จากใจจริง
ด้วยความเคารพ
พ.ต.ท.บันเทิง บุญเลิศ
ชมรมพระเครื่องชาวคลองเป็นเอกสารที่สรุปจากการทำวิจัย

รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 5522840175496 (PDF) 233 หน้า
ชนิดกระดาษ: PDF
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน