0
พระสมเด็จวัดเกศไชโยและ พระสมเด็จอรหังในแบบพิมพ์ภาพ 3 มิติแบบ perspective (PDF)
พระสมเด็จวัดเกศไชโยเป็นพระที่เกิดจากสกุลช่างเดียวกันที่ต้องการให้พระเครื่องของท่านเป็นประติมากรรมฝาผนังแบบนูนต่ำในลักษณะ ภาพ 3 มิติแบบ perspective ที่เกิดจากมุมมองที่ต่างจากพระสมเด็จวัดระฆัง
e-books(PDF) ?1,000.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

       ตั้งแต่มีการนำพระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พระสมเด็จวัดเกศไชโย และพระสมเด็จพระอรหัง มาบูชาติดตัว และมีการเช่าหากันในเวลาต่อมา ยังไม่มีใครเคยทราบกันมาก่อนเลยว่าพระสมเด็จที่กล่าวมาแล้วนั้นมีหลักการออกแบบเช่นใด จึงทำให้มีการอุปโลกน์พระเครื่องของพระสมเด็จพุฒาจารย์โต กันแบบผิดๆถูกเรื่อยมา แท้จริงแล้วการสร้างพระเครื่องของท่านได้นำหลักการออกแบบที่เป็นสากลที่เรียกว่า ภาพ 3 มิติ แบบ perspective ภาพ 3 มิติ พบครั้งแรกในยุค กรีก โบราณ ราว 750 ปี ก่อนคริสศักราช และพัฒนา มาใช้ในเรื่องของการเขียนแบบ ทางพระพุทธศาสนาได้นำศิลปการออกแบบมาใช้ตั้งแต่ ยุคทวาระวดีเรื่อยมาดังปรากฏ ลวดลายในถาวรวัตถุต่างๆ และพระเครื่อง เช่นพระรอด วัดมหาวัน   พระซุ้มกอ พระผงสุพรรณ พระนางพญา พระสมเด็จฯลฯ นอกจากนี้ ยังปรากฏการออกแบบลักษณะดังกล่าวกับพระเครื่องยอดนิยมอื่ีนๆอีก เช่นหล่อลอยองค์ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน หลวงพ่อเดิมวัดหนองโพ ลักษณะแบบเฉพาะ ของภาพ 3 มิติแบบ perspective จึงทำให้สามารถจับพิรุธพระเครื่องที่นำมาอุปโลกน์เช่าหากันในเวลาต่อมาได้ไม่ยาก
       เนื่องจากของจริงๆนั้นได้สูญหายไปจนเกือบจะหมดสิ้นจึงมีการแอบสร้างกันขึ้นมาภายหลังและนำมาเล่นหากันต่อมา จนปัจจุบันได้กลายเป็นของจริงโดยปริยาย ส่วนของจริงๆดังเดิมนั้นส่วนใหญ่ได้ตกหล่นจมดินตามทุ่งนาในแม่น้ำลำคลองเนื่องจากการเดินทางในสมัยก่อนค่อนข้างลำบาก สิ่งที่สำคัญที่สุดท่านจะต้องเรียนรู้ คือ หลักการเขียนแบบ การอ่านแบบ ภาพ 3 มิติ แบบ perspective ให้ได้เสียก่อน เมื่อนั้น ท่านจะรู้ไดเฉพาะตน ว่าพระเครื่องนั้นมีแบบพิมพ์ที่ถูกต้องหรือผิดแบบตามหลักการออกแบบหรือไม่ เหตุก็เพราะว่า ของปลอมไม่ได้ทำตามหลักการออกแบบนั้นเอง

สารบัญ

คำนำ.........................................................................................3
ความเป็นพระสมเด็จวัดเกศไชโย......................................................4
แบบทางนวัตกรรม........................................................................5
ภาพ 2 มิติ ภาพ 3 มิติ...................................................................6
ภาพ 3 มิติ แบบ perspective.........................................................7
ลักษณะ ภาพ 3 มิติ แบบ perspective.............................................8
หลักการพื้นฐาน ของภาพ perspective............................................9
โครงสร้างของแบบพระสมเด็จวัดเกศไชโย.......................................12
กรอบ Frame A.-Frame B...........................................................13
กรอบ Frame C.-Frame D...........................................................14
แบบพระสมเด็จฯที่ใช้ กรอบ Frame A.............................................15
แบบพระสมเด็จฯที่ใช้ กรอบ Frame B.............................................16
แบบพระสมเด็จฯที่ใช้ กรอบ Frame C.............................................17
แบบพระสมเด็จฯที่ใช้ กรอบ Frame D.............................................18
นิยามของพระสมเด็จวัดเกศไชโ.....................................................19
แบบ platfrom A.-platfrom D......................................................23
หลักการพิจารณาแบบพิมพ์พระสมเด็จวัดเกศไชโย.............................30
แบบอย่างพระสมเด็จวัดเกศไชโย platfrom A.-platfrom D...........31-161
ด้านหลังองค์พระสมเด็จฯ............................................................162
พระสมเด็จอรหัง / นิยามของพระสมเด็จพระอรหัง............................163
หลักการพิจารณาพระสมเด็จอรหัง................................................168
อ้างอิง....................................................................................170

ข้อมูลเพิ่มเติม

เรียน ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ พระสมเด็จวัดเกศไชโยและพระสมเด็จอรหังวัดมหาธาตุฯ เป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงมากจากผู้ที่มีความเชื่อและศรัทธาต่อ ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และพระสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน พระสมเด็จวัดเกศไชโย และพระสมเด็จอรหัง มีการออกแบบพิมพ์ โดยใช้หลักการเดียวกันทั้งหมด เพียงแต่จะมีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นสกุลช่างเดียงกันและก็เป็นสิ่งที่ น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง ก็คือความเป็นทันสมัยของช่างในยุคเมื่อ 200 กว่าปี ที่นำการออกแบบภาพ 3 มิติ ซึ่งเป็นแบบสากล นำมาใช้ในการออกแบบพระเครื่อง แต่แท้จริงแล้วยัง พบหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่ามีการ นำวิธีการออกแบบภาพ 3 มิติ มาใช้กับ นวัตกรรมทางความศาสนาและความเชื่อ นานนับพันปีแล้ว
หนังสือเล่มนี้จะเป็นการนำเสนอหลักการพิจารณาแบบพิมพ์พระสมเด็จวัดเกศไชโยและพระสมเด็จอรหังวัดมหาธาตุฯ พระสมเด็จวัดเกศไชโย ซึ่งมีแบบพิมพ์ประกอบไปด้วย พิมพ์ 7 ชั้น 6 ชั้น 5 ชั้น 3 ชั้น และพิมพ์ปรกโพธิ์
การศึกษาแบบพิมพ์ของพระสมเด็จวัดเกศไชโยนี้เป็นการศึกษาเชิงการ ทำวิจัย โดยการต่อยอดจากการจาก ทำวิจัยแบบพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง อาจมีคำถามว่าทำไม ไม่มีการชี้ตำหนิ เหมือนกับหนังสือพระฉบับอื่นๆ ก็ต้องถามว่าที่ผ่านมา ท่านรู้จักตัวตนของความเป็นพระสมเด็จฯ(พระเครื่อง)ของท่านดีแล้วหรือ ยังถ้ายังไม่รู้ รอยตำหนิหรือแผลเป็นจะมีประโยชน์อะไร ถ้าเรายังไม่รู้จักเจ้าของแผลเป็นหรือรอยตำหนิ ส่วนรายละเอียดอื่นๆถ้ามีโอกาสจะนำเรียนในภายหลัง เนื่องจากแม่แบบพิมพ์มีเป็นจำนวนมาก
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับท่านไม่มากก็น้อย และขอได้รับความขอบคุณ จากใจจริง
ด้วยความเคารพ
พ.ต.ท.บันเทิง บุญเลิศ
ชมรม พระเครื่องชาวคลองเอกสารทุกเล่มที่ถูกนำเสนอ เป็นเอกสารที่ได้จากการทำงานวิจัย ในหัวข้อชื่อเรื่อง ว่า การออกแบบภาพ 3 มิติ แบบ perspective กับงานศิลปะพุทธลักษณ์ไทย

รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 5522840178251 (PDF) 171 หน้า
ชนิดกระดาษ: PDF
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน