วัตถุที่ชาวตะวันตก "ฉกชิง" ไปในยุคอาณานิคมควรจะถูกส่งคืนให้ "เจ้าของ" แล้วถ้า "เจ้าของ" ที่ว่านี้ไม่อยู่แล้วล่ะ? คนกลุ่มเดียวที่พูดถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองได้อย่างชอบธรรมก็คือตัวชนพื้นเมืองเอง จริงหรือ!? วัตถุของ "ชาติ" ไหน ก็ควรจะได้อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของชาตินั้น ๆ แม้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวจะไม่ได้มาตรฐาน มีปัญหาเรื่องการคอร์รัปชั่น หรือการโจรกรรมอย่างนั้นน่ะหรือ?
หนังสือ "พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น : The Museum of Other People" เล่มนี้ จะพาผู้อ่านร่วมกระโจนเข้าสู่โลกอันพิลึกพิลั่นของ "พิพิธภัณฑ์" เพชรยอดมงกุฎแห่งความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรมมนุษย์ ซึ่งมีพัฒนาการความเป็นมา ที่แยกไม่ขาดจากประวัติศาสตร์อันอำมหิตโชกเลือดของจักรวรรดินิยมตะวันตก ตลอดจน "ภัณฑารักษ์" ผู้มีบทบาทในการรังสรรค์คลังสะสมและนิทรรศการว่าด้วย "ผู้เป็นอื่น" ผองชนซึ่งอยู่พ้นไปจาก "ยุโรปที่เป็นอารยะแล้ว" อันจะเป็นชนวนเหตุให้เกิดข้อพิพาทถกเถียงในเรื่องสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ และการฉกฉวยทางวัฒนธรรม ซึ่งยังคงส่งผลสะเทือนมาจนถึงปัจจุบัน
1 พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น
ภาคที่ 1 ผู้คนในดินแดนห่างไกล
2 การรังสรรค์พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น
3 อารยะและอนารยะ: บริติชมิวเซียมและพิพิธภัณฑ์พิตต์ริเวอร์ส
4 พิพิธภัณฑ์ในเยอรมนีและประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของมนุษยชาติ
5 ความรุ่งโรจน์และความร่วงโรยของพิพิธภัณฑ์มนุษยชาติ
- จุดแวะพักก่อนเข้าชมนิทรรศการห้องถัดไป : ชาวอเมริกันนายหนึ่งในกรุงปารีส
ภาคที่ 2 ชนพื้นเมืองอเมริกัน โองการของพระเจ้า และคติข้อยกเว้นอเมริกัน
6 การออกสู่ตะวันตกของสถาบันสมิธโซเนียน หรือการพิชิตดินแดนตะวันตกในฐานะเรื่องเล่าที่ถูกปรุงแต่งขึ้น
7 ฟรันทซ์ โบอาส ท้าทายสถาบันสมิธโซเนียน
8 พิพิธภัณฑ์โบราณคดีและชาติพันธุ์วิทยาอเมริกาพีบอดีของฮาร์วาร์ด
9 งานมหกรรมโลกโคลัมบัส 1893
ภาคที่ 3 การชำระพิพิธภัณฑ์และนำเสนอมันในรูปแบบใหม่
10 กระดูกเจ้ากรรม: ต้นเหตุแห่งการโต้เถียง
11 รางวัลแห่งชัยชนะของจักรวรรดิ ศิลปะในราชสำนักแอฟริกาและการค้าทาส
12 มันใช่ศิลปะหรือ?
ฯลฯ
ISBN | : 9789740218869 (ปกอ่อน) 560 หน้า |
ขนาด | : 165 x 240 x 23 มม. |
น้ำหนัก | : 800 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : มติชน, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 3/2024 |
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | : The Museum of Other People |