
พุทธศิลป์ไทยในอาเซียน และพุทธศิลป์อาเซียนในไทย เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งของผู้คนในภูมิภาคที่เกี่ยวร้อยเชื่อมโยงกันผ่านความเชื่อทางศาสนา ประวัติศาสตร์ และศิลปะ
ความเป็นไปของพุทธศิลป์ในภูมิภาคอาเซียน เผยให้เห็นความสัมพันธ์ของบ้านเมืองและผู้คนในประวัติศาสตร์ ความยิ่งใหญ่และร่วงโรยของอาณาจักรในอดีตทั้ง พุกาม ล้านนา สุโขทัย อยุธยา เขมรโบราณ อันปรากฏเป็นหลักฐานทางศิลปกรรมที่คงอยู่คงทนมาจวบจนปัจจุบัน
พุทธศิลป์เป็นมิติทางวัฒนธรรมที่สำคัญมิติหนึ่งซึ่งควบรวมเอาทั้งศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน อันเป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ของประเทศในภูมิภาคนี้...
หนังสือเล่มนี้ ต้องการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของงานศิลปกรรมที่ก่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับพุทธศาสนาในไทยและในอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงความสัมพันธ์และการแผ่ขยายพุทธศิลป์ไทยในประเทศอาเซียน รวมทั้งรู้และเข้าใจความเหมือนต่างของลักษณะพุทธศิลป์ไทยและอาเซียนได้อย่างลึกซึ้ง
1. หลักฐานการประดิษฐานพุทธศาสนาในประเทศไทยและอาเซียน
- การรับวัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในประเทศไทยและในอาเซียน (สุวรรณภูมิ)
- หลักฐานพุทธศิลป์ในประเทศอาเซียนยุคแรกเริ่ม
- วิเคราะห์รูปแบบพระพุทธรูประยะแรกที่พบในประเทศไทย
- พุทธศิลป์รุ่นแรกที่สร้างขึ้นในประเทศไทย
2. อิทธิพลของศิลปะในอาเซียนต่องานพุทธศิลป์ไทย
- อิทธิพลของศิลปะชวาภาคกลาง (ประเทศอินโดนีเซีย)
- อิทธิพลของศิลปะเขมร
- อิทธิพลของพุทธศิลป์จากพม่า
- อิทธิพลของพุทธศิลป์จามและเวียดนามที่มีต่อไทย
3. บทบาทของพุทธศิลป์ไทยต่อประเทศอาเซียน
- บทบาทของพุทธศิลป์ไทยต่อประเทศกัมพูชา
- พุทธศิลป์ไทยในประเทศพม่า
- บทบาทพุทธศิลป์ไทยที่มีต่อพุทธศิลป์ลาว
ISBN | : 9789740217282 (ปกอ่อน) 360 หน้า |
ขนาด | : 165 x 240 x 17 มม. |
น้ำหนัก | : 600 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษปอนด์ |
สำนักพิมพ์ | : มติชน, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 12/2020 |