0
ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2563
เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่ง อาณาราษฎรตลอดไป
ราคาพิเศษ237.50 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะได้ชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา

    ในประกาศคณะราษฎรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ยื่นคำขาดว่า ประเทศนี้ไม่ปิดโอกาสให้บุคคลสามัญขึ้นเป็นประมุขของประเทศ ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า "การปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย" (หมายความว่าประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ตรงกันข้ามกับราชาธิปไตย) สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ขอบฟ้าความคิดของสังคมไทยนั้น มิได้มีแต่ราชาธิปไตย แต่อย่างที่ทราบ พระปกเกล้าฯ ได้ยอมรับเป็นกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญของคณะราษฎร ที่เรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475 เพียงแต่พระองค์ได้ขอเติมคำว่า "ชั่วคราว" เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ด้วยข้อตกลงว่าจะให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมานฉันท์กันระหว่างคณะราษฎรกับฝ่ายนิยมเจ้าในเวลาต่อมา

    เมื่อเราดูรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนายน นอกจากมาตรา 1 ที่กำหนดไว้ว่า "อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย" ในมาตรา 2 ยังกำหนดให้บุคคลและคณะบุคคลใช้อำนาจแทนราษฎร อันได้แก่ 1. กษัตริย์ 2. สภาผู้แทนราษฎร 3. คณะกรรมการราษฎร (ซึ่งก็คือคณะรัฐมนตรีในเวลาต่อมา) 4. ศาล

    หมายความว่า กษัตริย์เป็นหนึ่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น ถึงแม้กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาญายังโรงศาลไม่ได้ แต่เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัยตามมาตรา 6 และยังกำหนดหลักการ The King Can Do No Wrong ไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 7 ที่ระบุว่า "การกระทำใด ๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ" 

สารบัญ

บทบรรณาธิการ : ประเทศที่อนุญาตให้มีอุดมการณ์เดียว

- คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร อ่านประวัติศาสตร์พระปฐมบรมราชโองการ (ใหม่) : คันฉ่องสะท้อนนัยยะทางกฎหมายและการเมืองของกษัตริย์และสยามสมัยใหม่
- ปวงชน อุนจะนำ สูติบัตรรัฐไทย
- นริศ จรัสจรรยาวงศ์ "คณะราษฎร" ผู้ริเริ่มทางหลวงแผ่นดิน (พ.ศ. 2474-2500)
- สมชาย ปรีชาศิลปกุล เสนีย์ ปราโมช กับประวัติศาสตร์กฎหมายแนวกษัตริย์นิยม
- อาสา คำภา พลวัตชนชั้นนำไทยหลัง 14 ตุลา 2516 : จากการต่อตัวของพันธมิตรระหว่างพระมหากษัตริย์กลุ่มอนุรักษนิยม และผู้นำทหาร ถึงพิมพ์เขียวการเมืองไทยที่ล้มเหลว

รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786167667904 (ปกอ่อน) 192 หน้า
ขนาด: 165 x 240 x 10 มม.
น้ำหนัก: 320 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, สนพ.
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน