0
ภววิทยาแม่น้ำโขง : เขื่อน น้ำของ และผู้คน
เชื้อชวนให้เรากลับมาตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานพทางภววิทยาของน้ำ มีนัยถึงการชักชวนให้เราพิจารณาแม่น้ำโขงเสียใหม่ที่ไม่ได้เป็นเพียงวัตถุของความรู้หรือทรัพยากรธรรมชาติ แต่แม่น้ำมีชีวิต
หนังสือ171.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    ภาวิทยาแม่น้ำโขง (Mekong Ontology) : เขื่อน น้ำของ และ ผู้คน เป็นหนังสือที่ "กนกวรรณ มะโนรมย์" ในฐานะผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการทำความเข้าใจสัมพันธภาพของ "สภาวะ" ในการอยู่ร่วมสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และวัตถุที่ถูกสร้างขึ้น อันจะชวนให้ผู้อ่านหวนกลับมาทำความเข้าใจและตั้งคำถามกับการศึกษาทางสังคมศาสตร์ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมถึงการดำรงอยู่ของมนุษย์ที่ยากจะแยกขาดกับสรรพสิ่งโดยรอบที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

    หนังสือเล่มนี้ ได้รับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิในทางมานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ ที่ช่วยให้เนื้อหาของหนังสือมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และจะเป็นหมุดหมายสำคัญอันเป็นประโยชน์ต่อการ ศึกษาและทำความเข้าใจสังคมต่อไปในอนาคต

สารบัญ

บทนำ ทำไมต้อง "ภววิทยาแม่น้ำโขง"?
บทที่ 1 มุมมอง : การซ้อนทับระหว่าง เขื่อน น้ำของ และผู้คน
บทที่ 2 สรรพสิ่งในแม่น้ำของ
บทที่ 3 ผู้กระทำการ กับ แม่น้ำผู้ (ไม่) ทันสมัย
บทที่ 4 "ความยากจน" จาก "การไม่เป็นสมัยใหม่" ของแม่น้ำโขง
บทที่ 5 คลี่ : "การประกอบสร้างเทคโนโลยีเขื่อนน้ำของ

คำนิยม
"ภววิทยาแม่น้ำโขง" ตั้งคำถามสำคัญต่อการทำความเข้าใจพลวัตและความสัมพันธ์ที่คร่อมข้าม โลกของนิเวศ วัฒนธรรม การเมือง และเทคโนโลยีในลุ่มน้ำโขง กนกวรรณ มะโนรมย์ นักวิชาการผู้คร่ำหวอดในการศึกษาทำความเข้าใจประเด็นปัญหาในลุ่มน้ำโขงมายาวนาน ชี้ให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของการพัฒนาลุ่มน้ำ ภายใต้อภิมหาโครงการของ "ความเป็นสมัยใหม่" ซึ่งประกอบสร้างขึ้นจากกรรมการพัฒนา ความรู้เชิงเทคนิค นโยบายและกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค ระบบนิเวศผ่านโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนการคัดง้างเชิงอำนาจผ่านปฏิบัติการของชาวบ้านและเครือข่ายภาคประชาสังคม กนกวรรณเสนอให้พิจารณา "ความยากจน" ในฐานะผลผลิตของความสัมพันธ์ดังกล่าว ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของความล้มเหลว ไม่เพียงเฉพาะนโยบายการพัฒนา การเจรจาต่อรอง และการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเท่านั้น หากแต่ยังเป็นความล้มเหลวของ "ความเป็นสมัยใหม่" ที่เกิดขึ้นในการเมืองระดับชีวิตประจำวัน ที่ซึ่งโลกถูกตัดแบ่งระหว่างความเป็นเทคนิค-สังคม ธรรมชาติ-วัฒนธรรม แม่น้ำ-ผืนดิน และ ความรู้-ความเชื่อ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงนั่นเองรองศาสตราจารย์ ดร. จักกริช สังขมณี- คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "ภววิทยาแม่น้ำโขง" เชื้อชวนให้เรากลับมาตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานะทางภววิทยาของแม่น้ำ ภววิทยาหมายถึง "การเป็น" โดยมีนัยถึงการชักชวนให้เราพิจารณาแม่น้ำโขงเสียใหม่ ที่ไม่ได้เป็นเพียงวัตถุของความรู้หรือทรัพยากรธรรมชาติ แต่แม่น้ำ "มีชีวิต" และชีวิตของแม่น้ำก็เฉกเช่นเดียวกับชีวิตอื่น ๆ กรอบการวิเคราะห์ของหนังสือเล่มนี้จึงใหญ่กว่าเรื่องของแม่น้ำโขงและภูมิภาคศึกษา แต่กลับเป็นการตั้งคำถามถึงสภาวะสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยการไหล ความเหลว ความขัดแย้ง และ "ภาวะความพะอืดพะอม" อันมีแม่น้ำเป็นตัวเชื่อมต่อสำคัญของความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนเกินกว่าจะลดทอนให้เป็นเรื่องของมนุษย์ ธรรมชาติ หรือเทคโนโลยีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
จากที่อ่านงานเขียนชิ้นนี้จบ ผมนึกสงสัยว่า "เขื่อน" อันเป็นผลผลิตของมนุษย์และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้กระทำ แท้จริงแล้วเป็นหนึ่งในเครื่องมือหลายชิ้นที่ประเทศมหาอำนาจใช้ในการสร้างความมั่งคั่ง การขูดรีด และการผูกขาดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ในทางตรงกันข้าม ก็ได้ก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และรายได้ของผู้คนในประเทศอื่น ๆ ที่ต้องพึ่งพิงลำน้ำสายนั้น การผูกขาด การใช้ทรัพยากรด้วยการใช้เทคโนโลยีเขื่อนในที่สุดได้นำไปสู่ความยากจน ที่มีได้เกิดขึ้นต่อชาวบ้าน คนธรรมดาทั่วไปเท่านั้น หากยังกระทบต่อฐานะ ทางเศรษฐกิจในระดับประเทศอีกด้วย-กรณีของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ ดูเหมือนอาจารย์กนกวรรณได้ตอบข้อกังขาของผมอย่างละเอียดไว้ในที่นี้ศาสตราจารย์ ดร.นิติ ภวัครพันธุ์
รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786164860612 (ปกอ่อน) 240 หน้า
ขนาด: 143 x 210 x 13 มม.
น้ำหนัก: 295 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ศยาม, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 1/2022
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน