ลด 10%
ภาษาสรรวรรณศัพท์
"ภาษา" ที่ "สรร" มา "วรรณ (นา)" "ศัพท์" กับหลากหลายเรื่องราว ซึ่งถือเป็นบันทึกวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและะท้อน "ความเป็นอยู่อย่างไทย"
เนื้อหาโดยสังเขป
หนังสือ "ภาษาสรรวรรณศัพท์" เป็นงานเขียนของ "ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัชญา ปานเกตุ" ต่อเนื่องจาก "ศัพท์สรรพรรณนา" เนื้อหามีลักษณะเดียวกันคือเรียบเรียงขึ้นจากคำที่ใช้กันอยู่ในสังคมไทยถิ่นต่าง ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน คำที่สรรมานี้เป็น "วรรณศัพท์" หมายถึงคำที่ปรากฏในวรรณกรรมลายลักษณ์ ซึ่งผู้เขียนเก็บรวบรวมตัวอย่างจากเอกสารของราชการและภาคเอกชน รวมถึงการปรากฏใช้แบบมุขปาฐะที่เก็บรวบรวมตัวอย่างจากประสบการณ์ของตนเอง จากคำบอกเล่าของญาติ มิตรสหาย และลูกศิษย์ในชั้นเรียน
ศัพท์ที่เลือกมาในชุดนี้ไม่ซ้ำกับชุดแรก แต่ยังคงเป็นศัพท์สำคัญในชีวิตประจำวันเช่นกัน มีทั้งคำ สำนวน ความเปรียบ ผู้เขียนใช้กลวิธีถ่ายทอดโดยอธิบายที่มาของคำหลักแล้วแตกลูกคำหรือคำที่เกี่ยวข้อง บอกความหมายทุกแง่ทุกมุม พร้อมตัวอย่างการใช้และกล่าวถึงภูมิหลังทางวัฒนธรรม ที่น่าสนใจคือการเชื่อมโยงระหว่างเรื่องจริงที่ผู้เขียนประสบเข้ากับความหมายของศัพท์แต่ละคำ เป็นการยืนยันว่าศัพท์ทุกคำยัง "มีชีวิต" กลวิธีการเขียนเช่นนี้เป็นลักษณะเด่นที่ทำให้คำศัพท์ธรรมดามีความหลากหลายลุ่มลึก ชวนติดตาม ซึ่งถือเป็นบันทึกวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและสะท้อน "ความเป็นอยู่อย่างไทย"
สารบัญ
1. ขบ
2. ดาย
3. ซ่อง
4. เหนียว
5. จมูก
6. จงเรียกมันว่า "ปลา" ต่อไป
7. ยัง
8. ดวง
9. "โง่" มาก
10. หม้อเขียว...สีน้ำเงิน?
ฯลฯ
คำนิยม
ถ้าในบรรดา "เพื่อนในหน้าบรรณ" ของปรัชญามีลูกศิษย์ของเขาอยู่ด้วย นักศึกษา เหล่านั้นก็จะได้ประโยชน์ที่อาจารย์เปิดประเด็นให้พวกเขาได้ไปถกเถียงกันต่อไปเรื่องความเป็นมาของถ้อยคำในภาษาไทย ตลอดจนความเหมาะสมว่าจะเรียกคำใดว่าอย่างไร หรือเลิกเรียกคำใดว่าอย่างไร เป็นการเรียนภาษาไทยนอกห้องเรียนและนอกตำราได้อีกวิธีหนึ่งอย่างน่าสนใจ ลองอ่านเรื่องต่าง ๆ ในหนังสือ "ภาษาสรรวรรณศัพท์" ที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัชญา ปานเกตุ รวบรวมเรียบเรียงจาก "หน้าบรรณ" ของเขาดูเถิด แล้วอาจเห็นด้วยกับข้าพเจ้าว่านี่คือ "หน้าตา" หรือ "สถานะ" ของครูภาษาไทยที่ทำให้วิชาภาษาไทยไม่น่าเบื่อศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กุสุมา รักษมณี- มหาวิทยาลัยศิลปากร และราชบัณฑิตยสภา
อีกส่วนหนึ่งที่ดิฉันชอบมากในงานเขียนของอาจารย์ปรัชญา คือเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่ออธิบายคำศัพท์ต่าง ๆ ว่ามาจากวรรณคดีเล่มไหน สมัยไหน ชาวบ้านใช้กันมาอย่างไร ในภูมิภาคไหนบ้าง แจกแจงอย่างเต็มที่ถี่ถ้วนลุล่วงไปแล้ว อาจารย์ปรัชญาก็จะสะบัดลีลา หักมุมเอาอีกเนื้อเรื่องที่เนื่องกับสำนวนนั้นมาปล่อยมุกเด็ดฮา ๆ ไว้ท้ายบทความเสมอ ลองไปดูอย่างเรื่องที่ 22 "คดีเงินทอน" หรือเรื่องที่ 33 "มีแต่เรื่องทะลึ่ง" นั้นเถิด อ่านไปก๊ากไป "ภาษาสรรวรรณศัพท์" มิใช่ได้รับเพียงความรู้ แต่ยังสนุก หลากลีลา ได้ชวนเริงอารมณ์สุด ๆ แถมมาอีกด้วยแน่ะนิพัทธ์พร เพ็งแก้ว
รายละเอียดหนังสือ
ISBN | : 9786160048847
(ปกอ่อน)
564 หน้า |
ขนาด | : 170 x 240 x 28 มม. |
น้ำหนัก | : 965 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษปอนด์ |
สำนักพิมพ์ | : สถาพรบุ๊คส์, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 9/2023 |
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน
สินค้าน่าสนใจในกลุ่มเดียวกัน
สินค้าคอลเล็คชั่น
อุปกรณ์เสริม
บทวิจารณ์จากลูกค้า