0
รักและการปฏิวัติ : การเมืองวัฒนธรรมว่าด้วยความรักของปัญญาชนฝ่ายซ้ายไทยยุคสงครามเย็น
รักและการปฏิวัติ เป็นส่วนหนึ่งของสีสันอันแจ่มใส เต็มเปี่ยมด้วยความหวังในกระแสความเปลี่ยนแปลงของการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา
หนังสือ285.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    หนังสือที่ปรับปรุงแก้ไขมาจากรายงานวิจัยเรื่อง ความคิดและการเคลื่อนไหวทางความคิดเรื่อง "ความรักที่ก้าวหน้า" ของนักศึกษาและปัญญาชนฝ่ายซ้ายไทย ในช่วงระหว่างทศวรรษ 2490–2520 ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2563

    หนังสือ "รักและการปฏิวัติ" เล่มนี้ พยายามแสดงให้เห็นว่า ท่ามกลางเงาทะมึนของสงครามเย็น (ในช่วงทศวรรษ 2490-2520) ที่ปกคลุมไปทั่วโลก ในบรรยากาศที่สหรัฐอเมริกาแผ่ขยายอำนาจอันมากมายมหาศาล เข้ามามีอิทธิพลเหนือประเทศไทยในแทบจะทุกด้าน และรัฐบาลไทยแทบจะทุกสมัยตลอดช่วงสงครามเย็น ต่างตอบรับเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาอย่างแนบแน่นและกระตือรือร้น ได้มีปัญญาชนฝ่ายซ้ายไทยจำนวนหนึ่งลุกขึ้นมาผลิตบทความ บทกวี เรื่องสั้น นวนิยาย หนังสือและสิ่งพิมพ์เป็นจำนวนมากและอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่หรือสถาปนามโนทัศน์ "ความรักที่ก้าวหน้า" ให้ลงหลักปักฐานในเนื้อดินของสังคมวัฒนธรรมไทย

สารบัญ

- บทนำ สงครามเย็น ปัญญาชนฝ่ายซ้าย และการเมืองวัฒนธรรม
1. ความรักแบบเจ้า ไพร่ กระฎุมพี : ก่อนความรักที่ก้าวหน้า
2. ความรักและการแตกหักกับอดีตของปัญญาชนฝ่ายซ้าย หลังการปฏิวัติ 2475
3. แนวคิดกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา ปรัชญาวัตถุนิยม และมโนทัศน์ความรักที่ก้าวหน้าของ พคท. ในทศวรรษ 2490
4. เยาวชนคนหนุ่มสาวกับ "ความรักที่ก้าวหน้า" หลัง 14 ตุลาฯ
5. ความรักและการปฏิวัติ : ณ เขตป่าเขาหลัง 6 ตุลาฯ

- บทสรุป : จากมโนทัศน์ "ความรักที่ก้าวหน้า" ภายใต้สงครามเย็น ถึงการสร้าง "ความรักในรูปแบบใหม่" ภายใต้ระบบทุนนิยมโลก

ข้อมูลเพิ่มเติม

- "ธิกานต์ ศรีนารา" อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เขียนหนังสือขายดี "หลัง 6 ตุลาฯ ว่าด้วยความขัดแย้งทางความคิดระหว่างขบวนการนักศึกษากับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย"

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786164860537 (ปกอ่อน) 304 หน้า
ขนาด: 143 x 210 x 17 มม.
น้ำหนัก: 350 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ศยาม, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 7/2021
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน