0
รุกตะวันออก : ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ
เปิดหลักฐานใหม่จากเวียดนามที่คนไทยไม่เคยรู้...เป็นงานค้นคว้าเชิงลึกที่ช่วยขยายกระบวนการรับรู้ประวัติศาสตร์การเมือง และสงครามสมัยธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์ ที่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะมองข้ามไป
หนังสือ266.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    ในช่วงธนบุรีถึงต้นรัตนโกสินทร์ อันเป็นช่วงเวลาก่อนเกิดสงครามอานามสยามยุทธ ซึ่งจะทำให้เห็นบริบทความสัมพันธ์และที่มาที่ไปของสงครามระหว่าง "สยาม" และ "เวียดนาม" โดยใช้หลักฐานชั้นต้นเวียดนามที่จะช่วยเปิดมุมมองทางประวัติศาสตร์ใหม่ๆ

    หัวใจหลักของหนังสือเล่มนี้มิได้ต้องการจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับเวียดนามก่อนสงครามอานามสยามยุทธเท่านั้น แต่ต้องการปรับมุมมองทางประวัติศาสตร์ไทยใหม่ จากที่แต่เดิมประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาธนบุรีถึงต้นรัตนโกสินทร์ มักถูกมุ่งเน้นอธิบายไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับพม่าเป็นหลัก ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ สยามไม่ได้ให้ความสำคัญกับพม่ามากขนาดที่หนังสือ "ไทยรบพม่า" อธิบายไว้ แต่สยามให้ความสำคัญกับดินแดนด้านตะวันออกของสยาม คือ กัมพูชาและลาวมากกว่า เพราะดินแดนเหล่านี้คือปริมณฑลอำนาจ (Mandala) ของกษัตริย์สยามมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังนั้น การเข้าควบคุมรัฐต่าง ๆ ในดินแดนดังกล่าวจึงเป็นภาระหน้าที่อันสำคัญของกษัตริย์สยามตลอดมา

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ที่กษัตริย์มองว่าตนเองเป็นผู้สืบทอดสถานะความเป็นอยุธยา ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ในเวียดนาม เกิดสภาวะ "ว่างระเบียบ" อำนาจไม่ได้รวมศูนย์อยู่ที่จักรพรรดิราชวงศ์เล แต่ตกอยู่ในมืออ๋องตระกูลจิ่งห์และอ๋องตระกูลเหงวียน โดยเฉพาะอ๋องตระกูลเหงวียน ที่ปกครองเวียดนามทางใต้ได้เริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในกัมพูชา โดยการเข้าแทรกแซงการเมืองภายในกัมพูชาและพยายามสถาปนาเจ้านายกัมพูชาที่ตนเองสนับสนุน เมื่อนโยบายรุกตะวันออกปะทะกับการขยายอิทธิพลลงใต้ของอ๋องตระกูลเหงวียน นี่จึงเป็นที่มาของความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนของสยาม-เวียดนาม ก่อนอานามสยามยุทธ โดยมีตัวละครสำคัญที่ขับเคลื่อนความเป็นไปของประวัติศาสตร์ คือ สมเด็จพระเจ้าตากสิน, รัชกาลที่ 1, และองเชียงสือ

สารบัญ

ภาคที่ 1 ประวัติศาสตร์ที่หายไป
ภาคที่ 2 ศึกชิง "กัมพูชา" และ "ฮาเตียน"
ภาคที่ 3 สายสัมพันธ์ระหว่าง "รัชกาลที่ 1" กับ "องเชียงสือ"
ภาคที่ 4 ความสัมพันธ์สยาม-เวียดนาม สมัยรัชกาลที่ 2
ภาคที่ 5 สยาม-เวียดนาม ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร

คำนิยม
เส้นทางหนังสือของสุเจนจึงสวนทางกับเส้นทางของนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ เมื่ออ่านแล้วทำให้อดฉงนไม่ได้ว่า แท้จริงแล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินและรัชกาลที่ 1 หาได้ให้ความสำคัญต่อการขยายพระราชอำนาจสู่ด้านประจิมทิศ เพราะสงครามกับพม่าเป็น "สงครามในเชิงรับ" ขณะที่พันธกิจในการฟื้นฟูธนบุรีให้ไม่เป็นรองราชอาณาจักรที่ล่มสลายไป คือการประกอบสร้างปริมณฑลอำนาจของอยุธยาขึ้นมาใหม่ ซึ่งในทางปฏิบัติจะมีล้านช้างและกัมพูชาเป็นเป้าหมายการยึดครอง...ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์
รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9789740216827 (ปกอ่อน) 296 หน้า
ขนาด: 143 x 215 x 16 มม.
น้ำหนัก: 320 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์มติชน, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 9/2019
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน