วรรณกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของ "ศรีบูรพา" ที่แสดงทรรศนะของความเป็น ลูกผู้ชาย อย่างแท้จริง "ศรีบูรพา" แต่งเรื่อง "ลูกผู้ชาย" เพื่อเสนอข้อคิดว่า ความเป็นลูกผู้ชายไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด หรือยศศักดิ์ แต่อยู่ที่ความมานะบากบั่นในการสร้างตนเองและมีคุณธรรม ซึ่งจะทำให้เขาสามารถเปลี่ยนสถานะทางสังคมของตนเองจากสามัญชนไปสู่ชนชั้นสูงได้ แม้ว่านวนิยายเรื่องนี้จะยังแสดงค่านิยมของสังคมในการเทิดทูนสถานภาพของชนชั้นสูง แต่ก็เป็นการสร้างกำลังใจแก่สามัญชนทั่วไปว่า...
การศึกษาและคุณธรรมจะเป็นอุปกรณ์สำคัญ ที่ทำให้เขาฝ่ากำแพงของชนชั้นไป ดังกรณีของ "มาโนช" ลูกช่างไม้ ที่หมั่นเพียรในการศึกษา เป็นคนมีคุณธรรม มีความเสียสละ และที่สำคัญเทิดทูนในความยุติธรรม ในที่สุดก็สามารถยกระดับตนเองให้ประสบความสำเร็จในสังคม ได้เป็นถึง "ผู้พิพากษา" พร้อมกันเขาสร้างตัวละครอีกตัวคือ "คีรี" ผู้ที่ถือกำเนิดเป็นลูกผู้ดี แต่เสเพล จนสุดท้ายก็ตกจากชนชั้นของตัวเองกลายเป็นโจรและต้องติดคุกในที่สุด…
บทที่ 1 อุปนิสัย
บทที่ 2 เพื่อนบ้าน
บทที่ 3 มิตรภาพ
บทที่ 4 คู่แข่งขัน
บทที่ 5 ตามผจญ
บทที่ 6 พบเพื่อนเก่า
บทที่ 7 ไปตากอากาศ
บทที่ 8 เพื่อนเก่าอีกคนหนึ่ง
บทที่ 9 หนุ่ม ๆ สาว ๆ
บทที่ 10 ความลับคับอก
ฯลฯ
ISBN | : 9786164371248 (ปกแข็ง) 344 หน้า |
ขนาด | : 150 x 223 x 25 มม. |
น้ำหนัก | : 530 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : ศรีปัญญา, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 2021 |