0
วัฒนธรรมพีระมิดกับการทำให้เป็นประชาธิปไตย
การเปลี่ยนผ่านการบริหารจัดการไปสู่สังคมประชาธิปไตย จำเป็นต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม เกิดจากความพร้อมของสังคมที่จะเปลี่ยนไปสู่แบบจำลองธรรมาภิบาล โดยละทิ้งลำดับชั้นบังคับบัญชาของวัฒนธรรมอำนาจ ฯลฯ
หนังสือ475.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    การเปลี่ยนผ่านการบริหารจัดการไปสู่สังคมประชาธิปไตยจำเป็นต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมเกิดจากความพร้อมของสังคมที่จะเปลี่ยนไปสู่แบบจำลองธรรมาภิบาล โดยละทิ้งลำดับชั้นบังคับบัญชาของวัฒนธรรมอำนาจในแบบพีระมิดไปสู่วัฒนธรรมความร่วมมือของพลเมืองในแบบแพนเค้ก การลดระยะห่างของอำนาจในความสัมพันธ์ทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจจากศูนย์กลางอำนาจที่ยอดพีระมิดให้เป็นการตัดสินใจจากด้านข้างของแพนเค้ก อำนาจในองค์การและสังคมจะถูกแจกจ่ายออกไปยังสมาชิกซึ่งเป็นผู้มีความรู้และมีการสนทนาติดต่อกับเครือข่ายในสังคมมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานอย่างใหม่ในศตวรรษที่ 21 วัฒนธรรมแพนเค้กยินยอมให้สมาชิกเข้ามีส่วนร่วมในลักษณะของอาสาสมัครที่เต็มใจให้ความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายทางสังคมโดยมีการเรียนรู้ร่วมกัน

สารบัญ

บทที่ 1 วัฒนธรรมทางสังคม : ธรรมชาติและความแตกต่าง
บทที่ 2 วัฒนธรรมพีระมิดในสังคมไทย : บริบทสำคัญใน 4 มิติ
บทที่ 3 วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมหรือวัฒนธรรมแบบแพนเค้ก
บทที่ 4 การทำให้เป็นประชาธิปไตย : จุดหมายในฝันหรือความจริงที่เอื้อมถึง
บทที่ 5 ระยะห่างของอำนาจ : เครื่องกีดขวางหรือสนับสนุนการทำให้เป็นประชาธิปไตย
บทที่ 6 วัฒนธรรมอำนาจนิยม : พีระมิด 3 ระดับ
บทที่ 7 สภาวะของการทำให้เป็นประชาธิปไตยในสังคมไทย
บทที่ 8 วัฒนธรรมอำนาจนิยมกับการดิ้นรนสู่การทำให้เป็นประชาธิปไตย

- บทส่งท้าย

คำนิยม
หนังสือเล่มนี้มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ภาคทฤษฎีเป็นการนำเสนอความหมาย แนวคิด และองค์ประกอบของคำว่าวัฒนธรรมทางสังคม ผู้อ่านจะได้รู้จักแนวคิดที่เรียกว่า วัฒนธรรมพีระมิด วัฒนธรรมแบบแพนเค้ก วัฒนธรรมอำนาจนิยม และแนวคิดเรื่องการทำให้เป็นประชาธิปไตยในสังคมไทย สำหรับภาคปฏิบัติ ผู้เขียนนำผลการวิจัยของผู้เขียนในเรื่องนี้มาเรียบเรียงนำเสนอ พร้อมทั้งทิ้งท้ายให้ชวนคิดว่าในอนาคตการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมประชาธิปไตย จะเกิดขึ้นเมื่อวัฒนธรรมแบบแพนเค้กค่อย ๆ เข้ามาแทนที่วัฒนธรรมแบบพีระมิดในสังคมไทยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ- ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้จึงจะได้เรียนรู้ในแง่ประสบการณ์เชิงระเบียบวิธีวิจัยพร้อมกับได้รับรู้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องอำนาจและการก้าวไปสู่สังคมประชาธิปไตยโดยถอยห่าง จากวัฒนธรรมพีระมิดสู่วัฒนธรรมแพนเค้ก ทั้งนี้ยังสามารถช่วยกันแสวงหาคำศัพท์และแนวคิดที่จะใช้อธิบายสภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่อยากให้เป็นของประชาธิปไตยไทยอีกด้วยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุภางค์ จันทวานิช- ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความน่าสนใจของมุมมองประชาธิปไตยภายในหนังสือเล่มนี้ เมื่อประกอบกับความประณีตในการอภิปรายเชิงวิชาการแบบสังคมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการอ้างอิง หรือการอภิปรายเชิงทฤษฎีและการแทรกผลการวิจัย จะทำให้ผู้สนใจอ่านได้ประโยชน์อย่างมากจากสาระและความเป็นวิชาการอย่างสูงของหนังสือเล่มนี้รองศาสตราจารย์ ดร. พิษณุ เสงี่ยมพงษ์- ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9789740335498 (ปกอ่อน) 378 หน้า
ขนาด: 191 x 262 x 18 มม.
น้ำหนัก: 690 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สนพ.แห่ง
เดือนปีที่พิมพ์: 2016
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน