0
วัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
กระบวนทัศน์เดิมในการบริหารจัดการนั้นไม่พอเพียงในการอธิบายความสำเร็จขององค์การในยุคหลังสมัยใหม่ นับวันมนุษย์จะมีแนวโน้มแสวงหาความเป็น "ปัจเจกบุคคล" ยิ่งขึ้น
หนังสือ332.50 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    กระบวนทัศน์เดิมในการบริหารจัดการนั้นไม่พอเพียงในการอธิบายความสำเร็จขององค์การในยุคหลังสมัยใหม่ นับวันมนุษย์จะมีแนวโน้มแสวงหาความเป็น "ปัจเจกบุคคล" ยิ่งขึ้น ขณะเดียวกับที่สังคมองค์การกลับต้องอาศัยการพึ่งพิงกันในลักษณะของ "พหุสังคม" ที่ต้องการความมีส่วนร่วมจากสมาชิกองค์การมากขึ้น พื้นที่ร่วมสำหรับชีวิตองค์การทั้งสองฝั่ง ได้แก่ ชีวิตในฝั่งขององค์การ และชีวิตในฝั่งของสมาชิกองค์การ หมายถึง "วัฒนธรรมองค์การ" จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญมากยิ่งขึ้นทุกขณะในการบริหารจัดการ คุณค่าเชิงปทัสถานและพฤติกรรมที่ประกอบขึ้นเป็นวัฒนธรรมขององค์การแต่ละแห่งได้รับการยอมรับจากนักทฤษฎีการจัดการ นักทฤษฎีวัฒนธรรมองค์การ รวมทั้งนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์การแห่งหนึ่งมีอัตลักษณ์ต่างจากอีกแห่งหนึ่งอย่างสิ้นเชิง รวมทั้งมีอิทธิพลถึงความสำเร็จที่แตกต่างกันขององค์การแต่ละแห่งด้วย

    หนังสือ "วัฒนธรรมองค์การ : ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน" เล่มนี้ จึงได้รับความสนใจจากผู้อ่านที่เป็นทั้งนักวิชาการ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในองค์การต่าง ๆ รวมทั้งนิสิตนักศึกษาที่ใช้ในการค้นคว้าเพื่อการศึกษาด้านการบริหารจัดการองค์การและบริหารทรัพยากรมนุษย์

สารบัญ

ภาคทฤษฎี
- บทที่ 1 การจัดการวัฒนธรรมที่เหมาะสม : ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์การ
- บทที่ 2 ปัจัเจกบุคคลกับองค์การ : ความขัดแย้งและความแตกต่าง
- บทที่ 3 วัฒนธรรมองค์การกับการบริหารงาน บุคคล : ความสอดคล้องหรือความขัดแย้ง
- บทที่ 4 แบบแผนวัฒนธรรมที่เหมาะสม : ทฤษฎีและข้อเท็จจริง

ภาคปฏิบัติ
- บทที่ 5 วัฒนธรรมแบบสโมสร : ปัจจัยจูงใจและความสอดคล้องระหว่างองค์การกับบุคคล
- บทที่ 6 วัฒนธรรมแบบเน้นบทบาท : ปัจจัยจูงใจและความสอดคล้องระหว่างองค์การกับบุคคล
- บทที่ 7 วัฒนธรรมแบบเน้นงาน : ปัจจัยจูงใจและความสอดคล้องระหว่างองค์การกับบุคคล
- บทที่ 8 วัฒนธรรมแบบเน้นตัวตน : ปัจจัยจูงใจและความสอดคล้องระหว่างองค์การกับบุคคล
- บทที่ 9 วัฒนธรรมที่เหมาะสม : ข้อเสนอสำหรับวงวิชาการ
- บทที่ 10 วัฒนธรรมที่เหมาะสม : แนวทางปฏิบัติ

บทส่งท้าย

คำนิยม
ผมมั่นใจว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยเปิดประตูให้ผู้ที่สนใจในเรื่องวัฒนธรรมองค์การได้ตระหนักถึงเสน่ห์ และความลุ่มลึกของวัฒนธรรมที่หล่อหลอมวิธีคิดและวิธีทำงานของผู้คนในองค์การ และหากนำข้อคิดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ไปประยุกต์ใช้ในองค์การ อาจนำไปสู่ "ความปรองดองเชิงวัฒนธรรม" ซึ่งจะทำให้องค์การมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ สามารถเติบโตและก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคงและมั่นใจศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ- คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2548 สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์)
จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่กรณีศึกษาวัฒนธรรมองค์การในสังคมไทย จำนวน 12 กรณี ที่จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถมองเห็นและทำความเข้าใจความหลากหลายทางชีวภาพ (วัฒนธรรม) ขององค์การได้อย่างเป็นรูปธรรม การนำเสนอกรณีศึกษาจริงจำนวนหลายกรณี ประกอบกับการวิเคราะห์เชิงทฤษฎีเช่นนี้นับว่าหาได้ยากมากในตลาดหนังสือวัฒนธรรมองค์การที่เป็นภาษาไทยในปัจจุบันศาสตราจารย์ ดร.จรัส สุวรรณมาลา- คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2554 สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์)
จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้คือ การศึกษาจากทั้งองค์การภาครัฐ องค์การเอกชน และหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไรในไทย เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวัฒนธรรมองค์การขึ้นมา อันเป็นการสร้างองค์ความรู้จากรากฐานและปรากฎการณ์ของสังคม ซึ่งเป็นการสร้างงานในลักษณะที่จะอธิบายว่า "ความรู้ที่ใช้ในการศึกษาและอธิบายสังคมใดควรอยู่บนรากฐานและสร้างขึ้นจากลักษณะของสังคมนั้น" ซึ่งอาจารย์ ดร.ชนิดา จิตตรุทธะ สามารถทำได้อย่างดียิ่งรองศาสตราจารย์วันชัย มีชาติ- ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9789740335962 (ปกอ่อน) 380 หน้า
ขนาด: 190 x 261 x 17 มม.
น้ำหนัก: 695 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สนพ.แห่ง
เดือนปีที่พิมพ์: 2017
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน