เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 นั้น เท่ากับต่ออายุให้สถาบันกษัตริย์ของไทย เพราะถ้าคงพระราชอำนาจไว้อย่างราชาธิปไตยในคราบของเผด็จการ สถาบันดังกล่าวย่อมปลาสนาการไปเสียแล้ว ที่น่ากลัวก็คือเผด็จการ ป. พิบูลสงคราม เอาสถาบันกษัตริย์มาเป็นเครื่องมือในทางการเมืองของเขา แม้เขาจะสะกดให้พระราชาอยู่ในอำนาจเขาก็ตามที หากที่ร้ายยิ่งกว่านี้ก็ตรงที่ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พยายามทำให้สถาบันกษัตริย์ กลายเป็นลัทธิเทวราชไป จนประหนึ่งกับเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฉะนั้น ทั้งยังมอมเมาราษฎรในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ของสถาบันดังกล่าว โดยโยงไปยังพระอดีตมหาราชาและมหาราชินี ซึ่งมีแต่ความดีไม่มีความชั่ว นี้นับว่าผิดไปจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
สถาบันใด ๆ ถ้าไม่ตั้งอยู่บนสัจจะ จะดำรงคงอยู่นานไม่ได้ และสถาบันใดที่ไม่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา อย่างรับผิดชอบกับมหาชน อย่างโปร่งใส ก็จะดำรงอยู่นานไม่ได้เช่นเดียวกัน ผู้ที่ต้องการเห็นอนาคตของสถาบันกษัตริย์ของไทย ต้องมีความกล้าหาญทางจริยธรรม ต้องกล้ำพูดความจริงกับพระราชา ต้องกล้าขัดพระทัยในเมื่อเจ้านายทำผิด หรือหลงไปกับคำสรรเสริญเย็นยออย่างปราศจากความจริง
ภาค 1 ความเข้าใจในเรื่องราชาธิปไตย
- ราชาธิปไตยในยุโรป
- ราชาธิปไตยในอังกฤษ
- ราชาธิปไตยในญี่ปุ่น
- ราชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 5
ภาค 2 สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย
- ประชาธิปไตยที่ีมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- สถาบันพระมหากษัติย์กับประชาธิปไตยไทย
- สถาบันพระมหากษัติย์กับรัฐธรรมนูญ
- สถาบันพระมหากษัติย์กับอนาคตของปะเทศไทย
- สถาบันพระมหากษัติย์ยามพลัดแผ่นดิน
ฯลฯ
ISBN | : 9786165940849 (ปกอ่อน) 288 หน้า |
ขนาด | : 145 x 211 x 15 มม. |
น้ำหนัก | : 365 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : สืบสาส์น |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 10/2022 |