0
สถาปัตยกรรมไทยหลังรัฐประหาร 19 กันยา 49
การอธิบายปรากฏการณ์สถาปัตยกรรม รูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างสัมพันธ์แนบแน่นกับปัจจัยแวดล้อมทางสังคมการเมืองไทย อันสลับซับซ้อนในช่วงหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549
หนังสือ427.50 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    เป้าหมายหลักของบทความชุดนี้คือการอธิบายปรากฏการณ์สถาปัตยกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างสัมพันธ์แนบแน่นกับปัจจัยแวดล้อมทางสังคมการเมืองไทยอันสลับซับซ้อนในช่วงหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แม้ว่าโครงการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังรัฐประหาร แต่หากพิจารณาแนวคิดเบื้องหลังการก่อสร้างจะพบว่าเกือบทั้งหมดเป็นผลพวงจากการต่อสู้แข่งขันระหว่างอุดมการณ์การเมืองชุดต่างๆ ในสังคมไทยที่ดำเนินสืบเนื่องมานับแต่หลายสิบปีก่อนหน้า กล่าวอีกนัยหนึ่ง โครงการเหล่านี้เป็นเพียงภาพปรากฏของยอดภูเขาน้ำแข็งซึ่งซ่อนความขัดแย้งมากมายไว้ข้างใต้ และบทความชุดนี้ก็เกิดขึ้นจากความพยายามที่จะเผยให้เห็นการต่อสู้ดังกล่าวถูกปิดซ่อนเอาไว้

สารบัญ

ภาคที่ 1 ความเป็นไทย
- ประชาธิปไตยที่ตีนเขา [พระสุเมรุ] : ว่าด้วยอำนาจของภาษาสถาปัตยกรรมในอาคารรัฐสภาใหม่
- ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า
- สัญลักษณ์ชาติไทยในจินตนาการทางสถาปัตยกรรม
- ฮาวทูดีไซน์ความเป็นไทยในสถาปัตยกรรม (แบบผู้เชี่ยวชาญ)
- รูปภาพ ลวดลาย และสัญลักษณ์ธนบัตรไทย : ภาพสะท้อนทางการเมือง

ภาคที่ 2 ความศักดิ์สิทธิ์
- โรงแรมศักดิ์สิทธิ์
- วัดสาธารณ์
- Hospitel
- Central World : นัยยะทางการเมืองต่อคนชั้นกลางกรุงเทพฯ
- สนามห(ล)วง
- รูปปั้นศักดิ์สิทธิ์

ภาคที่ 3 การลืม
- ความทรงจำและอำนาจจบบนถนนราชดำเนิน
- อนุสรณ์สถานพฤษภาประชาธรรม : การเมืองเรื่องที่ตั้งและความทรงจำบนถนนราชดำเนิน
- Rattanakosin Charter
- บางเหตุผลที่สังคมไม่ควรยอมให้ "รื้อ-สร้าง" อาคารศาลฎีกาใหม่
- คณะราษฎรหลังรัฐประหาร 19 กันยา

คำนิยม
สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นชินกับการวิเคราะห์ในแนวสัญศาสตร์ ผมเสนอว่า ก่อนที่ท่านจะรีบปฏิเสธข้อเสนอต่างๆ ของหนังสือเล่มนี้ ขอให้ท่านละวางความเข้าใจเดิมๆ ของท่านไว้ชั่วขณะ และติดตามอ่านบทวิเคราะห์ของอาจารย์ชาตรีไปจนจบกระบวนความ และท่านจะพบว่าข้อเสนอต่างๆ ของอาจารย์ชาตรีมีน้ำหนักน่ารับฟังและควรค่าต่อการนำไปครุ่นคิดต่อทั้งสิ้น ในท้ายสุดท่านอาจจะไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปของอาจารย์ชาตรี แต่ผมเชื่อว่าท่านจะเริ่มมองวัตุทางวัฒนธรรมรอบตัวของท่านด้วยสายตาที่เปลี่ยนไปไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน และผมคิดว่านี่คือเป้าหมายสำคัญของหนังสือเล่มนี้จะชี้ชวนและชักชวนให้ท่านหันมาไตร่ตรองและมองปรากฏการณ์ทางศิลปะและสถาปัตยกรรมด้วยสายตาเชิงวิพากษ์วิจารณ์ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์
รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786167158464 (ปกอ่อน) 418 หน้า
ขนาด: 165 x 240 x 23 มม.
น้ำหนัก: 650 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์อ่าน, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 2015
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน