การศึกษาเขตแดนในไทยคดีศึกษา ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ผลงานชิ้นสำคัญอย่าง "กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ" ของ ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล ได้รับการตีพิมพ์ใน ค.ศ.1994 (ฉบับภาษาอังกฤษ) งานชิ้นนี้ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงต่อรากฐานการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทยจนอาจนับได้ว่าเกิด "รอยเลื่อน" (Fault) ขนาดใหญ่ในไทยคดีศึกษาที่เปิดโอกาสให้นักวิชาการจำนวนมากเข้ามาตีความและพยายามอุดรอยเลื่อนนั้นในมิติที่หลากหลาย
หนังสือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมบทความที่สำคัญในการศึกษาเขตแดน (Boundary) ชายแดน (Border) หรือพรมแดน (Frontier) ของไทย จากแง่มุมต่าง ๆ ที่พยายามตอบสนองต่อรอยเลื่อนดังกล่าวอย่างลุ่มลึกและถึงที่สุด ซึ่งจะช่วยผลักดันและเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ในการทำความเข้าใจข้อถกเถียงเรื่องเขตแดนสยามในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
บทนำ เขนแดนศึกษา : การศึกษาเขตแดนไทย โดย ฐนพงศ์ ลือขจรชัย
บทที่ 1 ระบบเขตแดนรัฐจารีตและปัญหาการเปลี่ยนผ่านในสยาม โดย ฐนพงศ์ ลือขจรชัย
บทที่ 2 เวียดนามที่ "พรมแดนเขมร" : การเมืองเรื่องเขตแดน, ค.ศ. 1802-1847 โดย หวู ดึ๊ก เลียม
บทที่ 3 การขยับเขยื้อนของชายแดนบริเวณแม่น้ำโขงตอนบน : สยามและฝรั่งเศสในทศวรรษที่ 1890 โดย แอนดรูว์ วอล็คเกอร์
บทที่ 4 ความเปลี่ยนแปลงต่อการรับรู้เรื่องพรมแดนของผู้คนในเขตปราสาทพระวิหาร โดย พิพัฒน์ กระแจะจันทร์
ISBN | : 9786168215562 (ปกอ่อน) 288 หน้า |
ขนาด | : 143 x 211 x 13 มม. |
น้ำหนัก | : 325 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษปอนด์ |
สำนักพิมพ์ | : ILLUMINATIONS |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 10/2022 |