0
สังคมสงเคราะห์สุขภาพจิตในสังคมที่เปลี่ยนแปลง (PDF)
ในที่นี้ ได้ประมวลและจัดกลุ่มของแนวคิดพื้นฐานในการอธิบายธรรมชาติของมนุษย์ ออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ แนวคิดนิยัตินิยม (Determinism) แนวคิดพฤติกรรมนิยม (Behaviourism) และแนวคิดมนุษยนิยม (Humanism)
e-books(PDF) ?130.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    สังคมสงเคราะห์สุขภาพจิตเป็นการทำงานที่ต้องมีพื้นฐานด้านความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์การปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์สุขภาพจิตผู้หนึ่ง เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ว่า นักสังคมสงเคราะห์สุขภาพจิตผู้นั้นมีความเข้าใจอย่างไร ต่อผู้ป่วย ผู้ใช้บริการ ญาติหรือครอบครัวของผู้ป่วยผู้ใช้บริการ ประชาชนในชุมชน หรือแม้แต่ต่อทีมสหวิชาชีพ หรือบุคลากรอื่นๆ ในหน่วยงาน การปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์สุขภาพจิตมีสิ่งที่เป็นแนวคิดทฤษฎีที่เป็นรากฐานของการคิด การใช้วิจารณญาณทางวิชาชีพ การพูด การโต้ตอบ การแสดงการกระทำออกมาของนักสังคมสงเคราะห์อย่างแน่นอนชัดเจน ทั้งนี้ แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการทำความเข้าใจกับธรรมชาติของมนุษย์นั้นมีอยู่มากมายหลากหลายทฤษฎี

สารบัญ

- ตอนที่ 1 แนวคิดพื้นฐานของสังคมสงเคราะห์
บทที่ 1 แนวคิดพื้นฐานในการอธิบายธรรมชาติของมนุษย์
บทที่ 2 แนวคิดพื้นฐานในการอธิบายโลกสามยุคสมัย
- ตอนที่ 2 แนวคิดจิตเวชร่วมสมัย
บทที่ 3 แนวคิดจิตเวชยุคหลัง
บทที่ 4 จิตเวชประชาธิปไตย
บทที่ 5 จิตเวชแนววิพากษ์
- ตอนที่ 3 ประเด็นปัญหาสำคัญ
บทที่ 6 ความไม่เสมอภาคเท่าเทียมในสุขภาพจิต
บทที่ 7 การประทับมลทิน
บทที่ 8 พื้นที่ใหม่ของสังคมสงเคราะห์สุขภาพจิต
บทที่ 9 บทสรุปส่งท้าย
- บรรณานุกรม

รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786163145666 (PDF) 209 หน้า
ชนิดกระดาษ: PDF
สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์, สนพ. ม.
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน