หากว่าหนังสือ "ความเป็นมาของคำ สยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานที่ดีเยี่ยมที่สุดในหนังสือประเภทภาษาศาสตร์แล้ว หนังสือ "สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา" เล่มนี้ ก็น่าจะเป็นหนังสือที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์ของ "จิตร ภูมิศักดิ์" ที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งในกลุ่มประวัติศาสตร์อีกเช่นกัน
เนื้อหาที่ปรากฏในเล่มนี้มีตั้งแต่การวิเคราะห์ความเป็นมาเป็นไปของการกำเนิดกรุงศรีอยุธยา อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ชัดเจนที่สุดของวิธีและวิถีของความเป็น "คนไท" ไปจนถึงสร้างภาพประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง แคว้นรัฐในแผ่นดินลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนกำเนิดกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893 ได้อย่างน่าสนใจที่สุด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ประการใดที่เมื่อหนังสือเล่มนี้ ภายใต้นามของผู้เขียนคือ "จิตร ภูมิศักดิ์" ได้รับการตีพิมพ์ออกมา ผลงานของเขาก็เข้าไปสั่นสะเทือนเขย่าหลักการแห่งประวัติศาสตร์ของบ้านเราให้เกิดเป็นพลังผลักดัน ต่อยอดและเสริมสร้างเนื้อหาและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ให้มีความคึกคักขึ้นอย่างมากในเวลาต่อมา
- ปาฏิหาริย์และเพดานความคิด
- อุปทานในศิลาจารึก
- จะมองดูตำนานอย่างไร?
- กฎหมายก่อนสมัยอยุธยา
- ความสำนึกทางกฎหมาย
- ภาษาราชสำนัก
- ร่องรอยในตำนานและศิลาจารึก
- อโยทยาศรีรามเทพนคร
- เมืองไตรตรึงษ์มิใช่นิยายปรัมปรา
- นครศรีธรรมราชและอโยธยา
ฯลฯ
ISBN | : 9786164371293 (ปกแข็ง) 422 หน้า |
ขนาด | : 153 x 218 x 30 มม. |
น้ำหนัก | : 640 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : ศรีปัญญา, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 2021 |