0
สัมนากฎหมายหนี้ (ภาคจบบริบูรณ์) พร้อมบทวิเคราะห์ข้อสอบ (นิติกรรมและหนี้ เล่ม 2)
Mind Map และตารางเปรียบเทียบ สรุปประเด็นน่าสนใจของกฎหมายหนี้ครบถ้วนและกระชับ เหมาะกับผู้ใช้งานทางปฏิบัติ และใช้สอบชั้นปริญญาตรี เนติบัณฑิต อัยการผู้ช่วย และผู้ช่วยผู้พิพากษา ทั้งสนามใหญ่-เล็ก-จิ๋ว
หนังสือ218.50 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    "สัมนากฎหมายหนี้ (ภาคจบบริบูรณ์) พร้อมบทวิเคราะห์ข้อสอบ (นิติกรรมและหนี้ เล่ม 2)" เล่มนี้คือภาคต่อของ "คู่มือสัมมนาและวิเคราะห์ข้อสอบกฎหมาย ลักษณะนิติกรรม และหนี้ เล่ม 1 : ภาคนิติกรมสัญญา และระบบพื้นฐานแห่งการบังคับชำระหนี้" และแยกออกจากวิชาละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้ อีกเล่มหนึ่ง เพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่นิสิตนักศึกษาที่หาอ่านตามรายวิชา

    สำหรับเนื้อหาวิชาหนี้เท่าที่มีอยู่ในเล่มนี้ นับเป็นภาคจบบริบูรณ์ของระบบพื้นฐานแห่งการบังคับชำระหนี้ (มาตรา 194-225) ที่ปรากฎในเล่ม 1 และเหตุที่ผู้เขียนไม่อาจดึงเนื้อหาวิชาหนี้ภาคต้นนั้นออกมาจากนิติกรรมและหนี้เล่ม 1 ได้ ก็เพราะเหตุว่า การศึกษาวิชานิติกรรม-สัญญาโดยไม่ศึกษาระบบพื้นฐานแห่งการบังคับชำระหนี้ไปพร้อมกันนั้น ย่อมไม่มีวันที่จะเข้าใจเนื้อหาเรื่องผลแห่งสัญญา (สัญญาต่างตอบแทน ภาระความเสี่ยงภัยสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก และมัดจำ-เบี้ยปรับ) รวมถึงการเลิกสัญญา อย่างถ่องแท้ได้เลย โดยผู้เขียนก็แสดงเจตนาชัดแจ้งตั้งแต่ครั้งแรกแล้วว่า โปรดอ่านตามลำดับบทที่จัดเรียงไว้ 2 จบขึ้นไป จะทำให้เชื่อมโยงและจัดระบบเนื้อหากฎหมายแพ่ง บรรพ 1 และ 2 ที่สำคัญทั้งหมดได้ดี อันจะเป็นประโยชน์ยิ่งในการทำงานภาคปฏิบัติ และการสอบไม่ว่าสนามใดก็ตาม

สารบัญ

- ความเดิมตอนที่แล้ว : ระบบพื้นฐานแห่งการบังคับชำระหนี้ (ม.194-225)
บทที่ 12 หลักประกันแห่งหนี้ และมาตรการควบคุมกองทรัพย์สินของลูกหนี้ : กองทรัพย์สินของลูกหนี้ การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ การเพิกถอนการฉ้อฉล สิทธิยึดหน่วง (ม.214, 233-250)
บทที่ 13 หลักลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน : หนี้แบ่งชำระได้ หลักลูกหนี้ร่วม หลักเจ้าหนี้ร่วม (ม.290-302)
บทที่ 14 ข้อยกเว้นหลักความสัมพันธ์เฉพาะตัวระหว่างคู่สัญญา : สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก - รับช่วงสิทธิ - โอนสิทธิเรียกร้อง - แปลงหนี้ใหม่ (ม.374-376, 226-230, 303-308, 349-352)
บทที่ 15 หลักความระงับแห่งหนี้ : หลักการชำระหนี้ หลักการลดหนี้ และหลักการหักกลบลบหนี้ (ม.314-348)
บทที่ 16 หลักอายุความทั่วไปในบรรพ 1 (ม.193/9-193/35)

คำนิยม
การที่ผู้เขียนนำข้อสอบที่มีความหลากหลายในสนามสอบต่าง ๆ มาวิเคราะห์ ให้ผู้อ่านได้ทดลองลำดับความคิดเสมือนหนึ่งการนั่งทำข้อสอบในห้องสอบ พร้อมด้วยข้อสังเกตในแต่ละขั้นตอนของการคิดและการเขียนคำตอบเป็นช่วง ๆ ไป โดยอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่จะทำให้ได้คะแนนดีไว้อย่างชัดเจน นับว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านอย่างมาก นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้รวมเนื้อหาสำคัญของหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับวิชานี้ไว้ด้วย อันจะทำให้ผู้อ่านมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความรอบรู้ พร้อมที่จะเข้าสอบด้วยศาสตราจารย์พิเศษ ไพโรจน์ วายุภาพ- ผู้พิพากษาอาสุโสในศาลฎีกา อดีตประธานศาลฎีกา
หนังสือเล่มนี้มิได้ใช้เป็นเพียงคู่มือในการสอบเท่านั้น แต่ยังใช้ศึกษาทำความเข้าใจหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเชิงวิชาการได้อีกด้วย เพราะผู้เขียนมิได้เพียงสกัดข้อกฎหมายที่เป็นประเด็นอยู่ในคำพิพากษาเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงประเด็นของคดีให้เข้าใจความคิดและเหตุผล ของหลักฎหมายที่เกี่ยวข้องในเชิงวิชาการที่อ้างอิงความรู้ของผู้ทรงคุณวุฒิในวงการวิชาการนิติศาสตร์ไทยอีกด้วย ซึ่งผู้ที่จะทำได้เช่นนี้ต้องมีพื้นฐานความรู้ในวิชานิติศาสตร์เป็นอย่างดี โดยเฉพาะความรู้ในเรื่องนิติวิธี ซึ่งผู้เขียนได้นำมาปรับใช้อธิบายได้อย่างกระชับชัดเจน เชื่อว่าผลงานในหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจในการเตรียมความรู้เพื่อการสอบในสนามสอบต่าง ๆ ที่ต้องใช้ความรู้ทางกฏหมายอย่างลึกซึ้งและเฉียบคมอย่างแน่นอน ดังตัวอย่างของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ คือคุณพลภวิษย์ พันธุ์คำเกิดรองศาสตราจารย์สมยศ เชื้อไทย- อาจารย์ผู้บรรยายวิชากฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป กฎหมายมหาชนเบื้องต้น และนิติปรัชญา อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786165685955 (ปกอ่อน) 276 หน้า
ขนาด: 185 x 260 x 14 มม.
น้ำหนัก: 520 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์กรุงสยาม พับลิชชิ่ง, บจก.
เดือนปีที่พิมพ์: 2020
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน