
ในหน้าประวัติศาสตร์การปฏิวัติ 2475 ตามความรับรู้ทั่วไป บทบาท คณะราษฎรที่เป็น "ผู้ชาย" มักจะได้รับการบันทึกให้อยู่ "หน้าฉาก" ทางการเมืองซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยหารู้ไม่ว่าบทบาท "ผู้หญิง" ที่ถูกเก็บซ่อนอยู่ใน "หลังฉาก" มีส่วนช่วยเหลือคณะราษฎรผู้เป็น "สามี" ไว้มากมาย ทั้งคอยให้คำปรึกษา ช่วยตัดสินใจ ทำธุรกิจ หารายได้เลี้ยงครอบครัว สร้างเครื่อข่ายการเมือง เจรจาต่อรอง รวมถึงช่วยเหลือสามีในยามต้องเผชิญภัยทางการเมือง เช่นนี้แล้ว หากจะกล่าวว่า "ผู้หญิง" ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองก็คงจะละเลยบางหน้าสำคัญของประวัติศาสตร์ไปอย่างน่าเสียดาย
หนังสือ "หลังบ้านคณะราษฎร : ความรัก ปฏิวัติ และการต่อสู้ของผู้หญิง" เล่มนี้ จึงปรากฎขึ้นเพื่อตอบโต้ประวัติศาสตร์แบบ "ปิตาธิปไตย" (ชายเป็นใหญ่) ที่ลดทอนและมองข้ามตัวตนบทบาท "ผู้หญิง" ต่อการเมืองภาครัฐ และพิสูจน์ว่า "หลังบ้าน" ที่คณะราษฎรอาศัยหลับนอนร่วมชายคานั้น สัมพันธ์กับการปฏิวัติ การสร้างชาติ และการสร้างประชาธิปไตยอย่างมิอาจแยกออกจากกัน...
1 การหาคู่ครองของคณะราษฎร
2 การเมือง เรื่องแต่งงานของคณะราษฎร
3 การเมืองของกรรยาคณะราษฎร
4 "ละเอียด พิบูลสงคราม" กรรยาคณะราษฎร ผู้เรืองอำนาจมากกว่าใคร
5 การเคลื่อนไหวทำลายคณะราษฎร ของหญิงกลุ่มกษัตริย์นิยม
6 ภรรยาคณะราษฎร หลังยุคคณะราษฎร
ISBN | : 9789740217374 (ปกอ่อน) 384 หน้า |
ขนาด | : 142 x 210 x 16 มม. |
น้ำหนัก | : 425 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : มติชน, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 4/2021 |