0
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกับความหมายที่มองไม่เห็น
หนังสือเล่มนี้เป็นความพยายามเบื้องต้น ที่จะตั้งคำถามว่าพื้นที่เมือง โดยเฉพาะบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเคยมีการใช้หรือถูกใช้จนสามารถสร้างความจริงชุดต่างๆ ขึ้นมาได้อย่างไร
หนังสือ237.50 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในยุคเริ่มต้น เป็นการถือกำเนิดขึ้นด้วยเหตุผลของความพยายามที่จะสร้างอนุสรณ์ความทรงจำของเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และต้องการเชื่อมโยงการปกครองใหม่ในเชิงพื้นที่กายภาพเมืองกับพื้นที่ทางความคิด โดยใช้งานวันชาติเป็นสื่อกลางแต่ไม่สามารถจะสร้างความต่อเนื่องหรือเชื่อมโยงความหมายได้สำเร็จ   ในเวลาต่อมาพื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ได้ถูกใช้จัดงานทางการทหารในลักษณะของการสวนสนามทั้งพระราชพิธีและรัฐพิธี อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทั้งงานวันกองทัพไทย วันกองทัพบก หรือ พระราชพิธีรัชดาภิเษก แต่ภายหลังเมื่อมีการเปิดพื้นที่ทางการเมืองสู่การเคลื่อนไหวของมวลชน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ถูกใช้สำหรับการชุมนุมเรียกร้องครั้งสำคัญเมื่อ พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2535 ซึ่งสร้างคำอธิบายที่เชื่อมโยงกับกระบวนการประชาธิปไตยไทยอย่างมีนัยยะสำคัญ แม้ว่าปัจจุบันจะถูกใช้เป็นพื้นที่ตกแต่งประดับเมืองหลวงในเทศกาลสำคัญอย่างต่อเนื่องก็ตาม ความหมายที่แปรเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัยนั้น สะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่เมืองและพื้นที่ทางการเมืองเป็นเรื่องที่สำคัญ การที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้มีส่วนสร้างนัยยะทางการเมืองอย่างสำคัญก็เพราะว่าพื้นที่ทางการเมืองไม่เคยเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้แสดงเจตนารมณ์ของตนได้มากพอนั่นเอง!

สารบัญ

บทที่ 1 ปฐมบทของการศึกษาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
บทที่ 2 ภาษาที่กำกับความหมายของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
บทที่ 3 การศึกษางานเขียนของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
บทที่ 4 ภูมิทัศน์ของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
บทที่ 5 "ภาพ" ของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
บทส่งท้าย "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" กับความหมายที่มองไม่เห็น

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9749336356 (ปกอ่อน) 376 หน้า
ขนาด: 144 x 210 x 21 มม.
น้ำหนัก: 450 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์วิภาษา, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: --/2005
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน