หนังสือ "ออกนอกขนบประวัติศาสตร์ไทย" เล่มนี้ เป็นหนังสือรวมบทความของอาจารย์ "ธงชัย วินิจจะกูล" ลำดับที่ 5 ที่จัดทำโดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน แม้ทุกเล่มที่ผ่านมาจะถูกนำไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ระดับอุดมศึกษาในหลายมหาวิทยาลัย ทว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นเล่มที่เข้าใกล้คำว่า "ตำราเรียน" มากที่สุด สำหรับนักเรียนประวัติศาสตร์ หนังสือเล่มนี้จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ประวัติศาสตร์ในระดับมูลฐาน ให้ภาพรวมของกระแสความเคลื่อนไหวของวิทยาการประวัติศาสตร์ไทยที่พยายามออกนอกขนบ เสนอแนะทฤษฎีวิพากษ์ทั้ง Post-national, Postmodern, Post-colonial history และทฤษฎีที่ให้มุมมองเชิงพื้นที่ รวมไปถึงตัวอย่างการปรับใช้ทฤษฎีต่างๆ เหล่านี้ในการวิเคราะห์วิพากษ์อย่างเป็นรูปธรรม
ภาค 1 ปริทัศน์ประวัติศาสตร์นอกขนบ
- บทที่ 1 ภูมิทัศน์ของอดีตที่เปลี่ยนไป : ประวัติศาสตร์ชุดใหม่ในประเทศไทยหลัง 14 ตุลา
- บทที่ 2 ชาตินิยมกับปัญญาชนหัวก้าวหน้าในประเทศไทย
ภาค 2 Post-national History
- บทที่ 3 การเมืองและวิธีวิทยาของ Siam Mapped
- บทที่ 4 เขียนตรงรอยต่อ : นักประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใใต้กับประวัติศาสตร์แบบหลังชาติ
ภาค 3 แนะนำ Postmodern, Post-colonial History
- บทที่ 5 การศึกษาประวัติศาสตร์แบบ Postmodern
- บทที่ 6 การศึกษาประวัติศาสตร์แบบสาแหรก : วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ของฟูโกต์
ภาค 4 โครงเรื่องและเทศะมิติกับการสร้างประวัติศาสตร์
- บทที่ 7 เรื่อง ลำดับเรื่อง และโครงเรื่อง กับความรู้ประวัติศาสตร์
- บทที่ 8 ผู้ร้ายในประวัติศาสตร์ไทย กรณีพระมหาธรรมราชา : ผู้ร้ายกลับใจ หรือถูกใส่ความโดย Plot ของนักประวัติศาสตร์
- บทที่ 9 ประชาธิปไตยไทยในความทรงจำของสังคม : เรื่องเล่าเกี่ยวกับประชาธิปไตยโดยอนุสาวรีย์
- บทที่ 10 ผีหลายตนที่ท่าพระจันทร์ : การเมืองของภูมิสถานและความทรงจำ
ISBN | : 9786167667751 (ปกอ่อน) 352 หน้า |
ขนาด | : 165 x 240 x 21 มม. |
น้ำหนัก | : 550 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : ฟ้าเดียวกัน, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : --/2019 |