หนังสือ "อาเซียนกับการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติของชาวโรฮิงญา" เล่มนี้ ปรับปรุงจากผลการจัยบางส่วนในโครงการ "อาเซียนกับระบบการอภิบาลภูมิภาคในเรื่องการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติของชาวโรฮิงญา" ชุดโครงการ "จับตาอาเซียน" (ASEAN Watch) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการจัย (สกว.) การวิจัยในเรื่องนี้นับว่าอยู่ในช่วงการเกิดปรากฏการณ์การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติของชาวโรฮิงญาครั้งใหม่ ซึ่งทวีความรุนแรงและซับซ้อน และกลายเป็นโจทย์ที่ท้าทายต่อการพัฒนาประชาคมอาเซียนให้มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและอยู่ในจังหวะที่ปี 2019 นี้ไทยกลับมาทำหน้าที่ประธานอาเซียนอีกครั้ง
ความมุ่งหมายประการหนึ่งของงานวิจัยนี้ คือ ความพยายามเสนอการมองประเด็นโรฮิงญาจากความร่วมมือระหว่างประเทศและระบบการอภิบาลภูมิภาค เพื่อให้เกิดการมุ่งแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยไม่จำกัดอยู่ที่การถกเถียงในเชิงประวัติศาสตร์และสถานะพลเมืองของชาวโรชิงญาในเมียนมา ซึ่งมีงานที่นำเสนอและถกเถียงกันป็นจำนวนมากแล้ว
หนังสือเล่มนี้จึงมุ่งมีส่วนเติมเต็มการมองประเด็นโรฮิงญาจากการศึกษาแบบรัฐศาสตร์โดยเฉพาะ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับตัวแสดงประเภทรัฐ ตั้งแต่รัฐทั้งเมียนมาและรัฐเพื่อนบ้านทั้งที่เป็นสมาชิกอาเซียน และอยู่นอกอาเซียนไปจนถึงมหาอำนาจ และตัวแสดงที่มิใช่รัฐอย่างองค์การระหว่างประเทศกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับอาเซียนซึ่งถือเป็นองค์การระหว่างประเทศของภูมิภาคนี้เป็นหลัก
1. รัฐ องค์การระหว่างประเทศ และชาวโรฮิงญา กับระบบการอภิบาลภูมิภาคในเรื่องการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ
ตอนที่ 1 บทบาทรัฐใน-นอกอาเซียน
2. มาเลเซียกับการทำให้เรื่องโรฮิงญากลายเป็นประเด็นระหว่างประเทศ
3. การทูตแบบผู้ประสานของอินโดนีเซียเพื่อให้ความช่วยเหลือและการพัฒนาทั่วถึง
4. ความพยายามของอองซานซูจีในการแสวงหาทางออกของเมียนมาเกี่ยวกับชาวโรฮิงญา
ฯลฯ
ตอนที่ 2 ระบบการอภิบาลการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติระดับภูมิภาค
10. กระบวนการปรึกษาหารือระดับภูมิภาค (RCPs) นอกกรอบการทำงานของอาเซียน : กระบวนการบาหลี (Bali Process)
11. กลไกและกระบวนการเชิงสถาบันในกรอบอาเซียน
12. บทบาทของรัฐในอาเซียนในการสร้างเวทีเจรจาร่วมกัน
13. บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ
ตอนที่ 3 ไทยในอาเซียนกับอนาคตการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติของชาวโรฮิงญา
14. แนวคิดของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ บทบาทของอาเซียน ในการแก้ไขปัญหาและวิกฤตการณ์ในภูมิภาค
15. ข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียนปี 2019
ISBN | : 9786164171169 (ปกอ่อน) 360 หน้า |
ขนาด | : 147 x 210 x 21 มม. |
น้ำหนัก | : 445 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : สนับสนุนการวิจัย, สนง. กองทุน |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 2019 |