เดิมทีประวัติศาสตร์ไทยมักอยู่ใต้กรอบคิดว่าชนชั้นนำทุกระดับชั้น มีความเป็นเอกภาพกลมเกลียว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วเต็มไปด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจอันซับซ้อน มีการร่วมมือกัน การถ่วงดุลอำนาจ ตลอดจนการช่วงชิงผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
สภาวะเช่นนี้ดำรงอยู่ตลอดรัชสมัยของ "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" ทำให้พระราชอำนาจถูกท้าทายและสั่นคลอนอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงดำเนินพระราชกรณียกิจทางวัฒนธรรม เพื่อต่อสู้และธำรงรักษาไว้ซึ่งพระราชอำนาจนำทางการเมืองเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มการเมืองของ "วชิรญาณภิกขุ"
"อำนาจนำพระนั่งเกล้าฯ : การเมืองวัฒนธรรมของชนชั้นนำต้นรัตนโกสินทร์" เล่มนี้ ผู้เขียนพยายามชี้ให้เห็นว่าพระราชกรณียกิจทางวัฒนธรรม ที่รัชกาลที่ 3 เลือกใช้ ก็ได้แก่การซ่อมสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ โดยเฉพาะวัดอรุณฯ และวัดโพธิ์ เพื่อแสดงตนว่าเป็นผู้ดำเนินรอยตามรัชกาลที่ 1 อีกทั้งเรื่องราวซึ่งปรากฏอยู่ในจารึก จิตรกรรมฝาผนัง ตำราเรียน และตำราทางศาสนา ยังนำเสนอภาพของรัชกาลที่ 3 ในฐานะผู้มีความสามารถและบุญบารมีสูงส่ง เป็นผู้สนับสนุนพระพุทธศาสนา เป็นผู้นำพาพสกนิกรชาวสยามให้ข้ามพ้นสังสารวัฏ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เศรษฐกิจและสังคมในช่วงต้นรัตนโกสินทร์
บทที่ 3 สถานภาพและพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทที่ 4 การเสริมสร้างพระราชอำนาจนำผ่านพระราชกรณียกิจทางวัฒนธรรม
บทที่ 5 ปฏิบัติการทางอุดมการณ์เพื่อการสร้างพระราชอำนาจนำ
บทที่ 6 สรุป
ISBN | : 9789740218807 (ปกอ่อน) 264 หน้า |
ขนาด | : 145 x 210 x 11 มม. |
น้ำหนัก | : 295 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา |
สำนักพิมพ์ | : มติชน, สนพ. |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 3/2024 |