0
ฮาเบอร์มาสกับสังคมแบบหลังฆราวาส
รวมบทความและบทสัมภาษณ์ของ "ฮาเบอร์มาส" ที่แปลเป็นไทย พร้อมทั้งบทความของนักวิชาการไทย
หนังสือ304.00 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป

    เหตุการณ์หนึ่งที่ก่อให้เกิดความสนใจอย่างท่วมท้นต่อแนวความคิด "หลังฆราวาส (Post-secular)" ในโลกวิชาการของตะวันตก คือคำสุนทรพจน์ที่มีชื่อว่า "ความศรัทธาและความรู้ (Faith and Knowledge)" ของเยอร์เกน ฮาบามาส (Jurgen Habermas) เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2001 เพียงหนึ่งเดือน หลังจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน ค.ศ. 2001

    คำปราศรัยนี้กล่าวถึงแนวคิดเรื่องการไม่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่ออธิบายความรู้สึกที่ถูกตัดขาดของหลายชีวิตในโลกอิสลาม การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมของคนเหล่านี้ไม่อาจเชื่อมต่อกับส่วนอื่น ๆ ของโลกที่กระบวนการทำให้เกิดความทันสมัยเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อที่จะเชื่อมรอยแยกดังกล่าว เราจะต้องมีการพัฒนาภาษาที่ใช้ร่วมกัน นอกเหนือไปจากความเงียบที่เกิดขึ้นจากความรุนแรงของผู้ก่อการร้ายหรือของขีปนาวุธแล้ว รอยแยกของการพูดไม่ได้นี้ ไม่เพียงแต่วิ่งไปตามเส้นแบ่งระหว่างโลกอิสลามกับโลกตะวันตกเท่านั้น แต่มันยังวิ่งไปสู่สังคมในยุโรปอีกด้วย ดังนั้นชาวตะวันตกจะต้องเรียนรู้วิธีที่เหมาะสมในการตอบสนอง ต่อความหวาดกลัวจากการกระทำของบุคคลที่ไม่ใช่เป็นชาวตะวันตกเหล่านี้ และพวกเขาจะทำได้ ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจต่อ "สังคมแบบหลังฆราวาส (Post-secular)" ของพวกเขาเองดีพอ

สารบัญ

บทที่ 1 แนะนำฮาเบอร์มาสกับแนวคิด "หลังฆราวาส" โดย พิพัฒน์ พสุธาชาติ
บทที่ 2 ข้อสังเกตของสังคมแบบหลังฆราวาส โดย เยอร์เกน ฮาเบอร์มาส
บทที่ 3 การหันไปสู่ศาสนา ของเยอร์เกน ฮาเบอร์มาส โดย พิพัฒน์ พสุธาชาติ
บทที่ 4 แนะนำการคิดหลังอภิปรัชญาของเยอร์เกน ฮาเบอร์มาส โดย เทพทวี โชควศิน
บทที่ 5 ฮาเบอร์มาส "ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ" และ "ศาสนา" โดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา
บทที่ 6 การปนะกอบสร้างรัฐฆราวาสนิยมในสังคมฝรั่งเศส : กรณีปัญหาผ้าคุมศีรษะของสตรีมุสลิม โดย ฑภิพร สุพร
บทที่ 7 Post-secular : เมื่อ "ผี" ของยุโรปเป็นศูนย์กลาง โดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา

รายละเอียดหนังสือ
ISBN: 9786168215067 (ปกอ่อน) 312 หน้า
ขนาด: 143 x 211 x 17 มม.
น้ำหนัก: 415 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ILLUMINATIONS
สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน